1283. “เชือกปะกำช้าง” หนึ่งในของทนสิทธิ์มีฤทธิ์ในตัวด้วยแรงครู

เชือกปะกำช้าง ถือเป็นทนสิทธิ์เครื่องรางชนิดหนึ่ง ที่มีฤทธิ์ในตัวบวกกับการนำเข้าพิธีมงคล คล้องช้าง และพิธีของพราหมณ์ เพราะการคล้องช้างสมัยโบราณนั้น จะใช้หนังควายเป็นปะกำคล้องช้าง เพราะมีความเหนียว ความทน วัตถุประสงค์ ก็เพื่อนำช้างนั้น มาใช้ในการออกศึก หรือ นำมาใช้ในราชพิธี และงานวัตถุประสงค์ที่จำเป็น ตามคติความเชื่อ ช้างนั้นถือเป็นสัตว์มงคล มาตั้งแต่โบราณกาล จวบจนปัจจุบัน เพราะมีความเกี่ยวพัน กับวิถีการเป็นอยู่ของมนุษย์

เพราะเหตุนี้ปะกำช้างจึงกลายมาเป็นเครื่องราง ที่มีคุณวิเศษในตัว ทั้งทางด้านการข่มคุณไสย คุณผีคุณคน ป้องกันอาถรรพ์ เป็นเมตตามหานิยมต่อผู้ที่ได้ครอบครอง

” เชือกปะกำ และ พระเทวกรรม “

ในวัฒนธรรม และ ประเพณีการเลี้ยงช้าง ของชาวช้างเมืองสุรินทร์

คำว่า ปะกำ ชาวช้างจะให้ความสำคัญมาก เพราะว่า รวมถึง พิธีเซ่นสรวงเชือกปะกำ และ เซ่นสรวงศาลผีปะกำพิธีเซ่น เชือกปะกำ เป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณ ผีบรรพบุรุษที่เคยเป็น ครูบา หมอช้าง ฯ ให้มาสิงสถิตอยู่ในเชือกปะกำเส้นนี้ เชือกปะกำ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเป็นอุปกรณ์มงคลชั้นสูงที่ใช้ในการคล้องช้างป่า

จึงมีการเก็บรักษาไว้อย่างดีที่ ศาลปะกำเชือกปะกำ ส่วนใหญ่ทำมาจากหนังควายสามเส้นมาพันเกลียวกันคนที่จะทำ เชือกปะกำ กรีดหนังควายได้ จะต้องเป็นครูบาหรือหมอช้างเท่านั้น..เชือกปะกำ มีความสำคัญมากถ้าเซ่นไหว้ไม่ดี ก็จะทำให้เกิดความอัปมงคล เหตุร้าย กับทั้งคนและช้างของตัวเอง

พิธีเซ่นศาลปะกำ ศาลปะกำ จะมีลักษณะคล้ายๆบ้านหลังเล็กๆเป็นที่เก็บเชือกปะกำ ส่วนใหญ่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

พิธีเซ่นศาลปะกำ จะกระทำกันทุกปี หรือว่า มีเหตุต้องเคลื่อนย้ายเชือกปะกำ( เช่นการแสดง การคล้องช้างประจำปี ต้องใช้เชือกปะกำ ประกอบการคล้องช้างแสดง..จึงต้องทำพิธีกรรมก่อน..จะเรียกว่าสมัยใหม่ ว่า ศาลปะกำ สัญจร เช่นงานบวช งานแต่ง ฯ )ศาลปะกำ เป็นที่เก็บรักษาเชือกปะกำ จึงเป็นจารีตประเพณีของช้างที่ต้องเคร่งครัดต่อศาล-เชือกปะกำ เรียกว่า ศาลปะกำประจำตระกูล การเซ่นสรวงศาลปะกำ จะทำปีละครั้ง เหมือนการทำบุญประจำปี

แล้ว… คำว่า ปะกำ มากจากไหน

ปะกำ ของชาวช้างมาจากคำว่า พระเทวกรรม เป็นความเชื่อของชาวเอเชีย มีบันทึก พระเทวกรรมที่เมืองกำแพงเพชร สมัยอยุธยา พระเทวกรรม ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ระดับขาใหญ่ ในพิธีกรรมการคล้องช้างในสมัยโบราณ

ในเรื่องเล่า พระนารายณ์๑๐ปาง พระนารายณ์ลงมาจากสวรรค์เพื่อปราบช้างเอกทันต์ โดยมี พระคเณศ ประทับอยู่ด้านขวา พระเทวกรรมประทับด้านซ้าย และได้ให้ พระมเหศวร เป็นคนไล่ต้อนโขลงช้างของ ช้างเอกทันต์ พระนารายณ์ได้เอาตรี ปักลงดิน เกิดเป็นต้นมะตูม เอาเถาวัลย์ที่ต้นมะตูมเป็นเชือกสำหรับคล้องช้างส่วนพระมเหศวร

เมื่อคล้องช้างเอกทันต์ได้ นำไปผูกไว้ที่ใต้ต้นคูณ พระนารายณ์จึงให้ ตำราพฤฒิบาศ เพื่อไว้ทำพิธีปัดเสนียดจัญไรของช้าง ขณะนั้นพระนารายณ์ทรงประทับ ใต้ต้นยอ ตั้งแต่นั้นมา ไม้มะตูม ไม้คูณ ไม้ยอ เป็นไม้มงคล เป็นไม้ต้องห้ามของชาวช้าง ต้องรักษาไว้เพื่อ วิชาคชศาสตร์ และ วิชาคชกรรม

ชาวช้างเมืองสุรินทร์ ไม่ว่า กูย เขมร ลาว ต่างเชื่อกันว่า เชือกปะกำ มีผีปะกำ คอยดูแลช่วยเหลือ ป้องคุ้มครองชาวช้าง การไม่ดูแลช้าง ทุบตีช้าง ดูถูกช้าง เชื่อกันว่า ชาวช้างคนนั้นจะถูกผีปะกำลงโทษ หรือไม่ก็สมาชิกในครอบครัว รวมถึง ช้าง อาจจะคลุ้มคลั่งอาละวาดทำร้ายเจ้าของและคนรอบข้างได้เพราะชาวช้าง .. ผิดผีบรรพบุรุษช้างแห่งเชือกปะกำ ..

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

http://baanjompra.com

http://surin108.com/

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: