1282. กูสวดมนต์ดังๆ เทวดาเขาให้รางวัลกู “หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร” สวดมนต์ตอนตี ๑ พระพุทธรูปหินสีเขียวหล่นลงมาอย่างน่าอัศจรรย์

“เทวดาให้รางวัลหลวงปู่”

หลวงปู่ภู จันทเกสโร วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ

ขณะนั้นหลวงปู่ชราภาพมาก แต่ทุกคืนท่านจะสวดมนต์ทำวัตรไม่เคยขาด คืนวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังทำวัตรสวดมนต์อยู่ภายในกุฏิ ทุกครั้งที่ท่านสวดมนต์จะต้องส่งเสียงสวดดังๆ เป็นประจำ ในขณะที่ท่านกำลังสวดมนต์อยู่ตอนนั้นประมาณเวลา๑ นาฬิกา ลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ในกุฏิก็สะดุ้งสุดตัว เมื่อได้ยินเสียงคล้ายมีวัตถุหนักๆ ตกลงมากระทบพื้นดินดัง “โครม” ทำให้ทุกคนต้องหันไปมองตามเสียง ก็ได้ยินเสียงหลวงปู่ตะโกนออกมาจากในห้องว่า

“อ้าย-มึงไปหยิบของนอกชานซิ กูสวดมนต์ดังๆ เทวดาเขาให้รางวัลกู”

เมื่อลูกศิษย์ได้ยินดังนั้น ก็เดินออกไปนอกชาน ได้เห็นพระพุทธรูปบูชาหินสีเขียว มีสีน้ำตาลผ่านเป็นบางแห่ง เรียกว่า หินน้ำค้าง จึงได้หยิบเข้าไปมอบให้หลวงปู่ พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นแบบเชียงแสนลังกาวงศ์ มีขนาดกว้าง ๗.๔ ซ.ม. สูง ๙.๑ ซ.ม. นับว่าอัศจรรย์มาก ที่พระพุทธลอยมาเอง แม้แต่เพียงหล่นลงมาก็ดังมาก แต่ไม่แตกหรือร้าวแต่อย่างใด

หลวปู่ภู วัดอินทรวิหาร ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ เมื่ออายุได้ ๙ปี บิดามารดาท่านได้พาท่านไปบรรพชาเป็นสามเณรตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๘๒ ที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแค จนกระทั่งเมื่อมีอายุ ๒๑ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า “จนฺทสโร”

หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่ภูท่านได้เข้าไปในกรุงเทพมหานคร ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ แล้วได้ไปช่วยรักษาคนไข้ที่บาดเจ็บ เป็นอหิวาตักโรค ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ และท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทรารามเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔

ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓ จนถึงวันมรณภาพเป็นเวลา ๑๓ ปี ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก ฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลวงพ่อท่านได้ออกธุดงค์เป็นประจำไม่เคยขาด ร่วมเดินธุดงค์ไปกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นบางครั้งบางคราวบางทีท่านออกธุดงค์ก็มีพระภิกษุติดตามด้วยท่านได้เล่าให้ฟังว่า ถึงเรื่องแปลกๆที่ได้ออกรุกขมูลไปตามป่าเขามากมายหลายเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่ตื่นเต้นน่าอ่านมาก ตลอดระยะเวลาที่ท่านมีชิวิตอยู่ ท่านไม่เคยปล่อยเวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มุ่งหน้าปฏิบัติมีพุทธภูมิเป็นที่ตั้ง การร่ำเรียนวิชาอาคมมา ก็เพียงเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่กำลังทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บนับว่าท่านมีเมตตาธรรมสูงส่ง

ท่านปฏิบัติธรรมอย่าเคร่งครัด และออกบิณฑบาตเป็นประจำทุกวัน แต่ความจริงท่านไม่จำเป็นต้องออกก็ได้ เพราะ เจ้าฟ้าสมเด็จกรมพระนครสวรรค์พินิจ ได้จัดอาหารมาถวายทุกวัน แต่ท่านก็ออกไปบิณฑบาต เพราะเป็นกิจของสงฆ์ ท่านฉันจังหันเสร็จแล้ว ก็จะครองผ้าลงโบสถ์และลั่นดานประตู เพื่อมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนท่าน จะเจริญพุทธมนต์ถึง ๑๔ ผูก วันละ ๗ เที่ยวแล้วจึงนุ่งวิปัสสนากรรมฐานต่อไปจนถึงเที่ยงทุกๆวัน

ท่านเคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ขณะที่นั่งกรรมฐานอยู่พอได้เวลาเที่ยง ทางการจะยิงปืนใหญ่ (เพื่อบอกเวลาว่าเที่ยงแล้ว)ในขณะที่ยิงปืนใหญ่ กูหงายหลังทุกทีพอท่านพักได้ชั่วครู่ก็จะบำเพ็ญเจริญภาวนาต่อไปจนถึงตีหนึ่ง จึงจะจำวัด ท่านสามารถรูปเหตุการณ์ล่วงหน้า อย่างเช่น ในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตย เป็นต้น

เนื้อหามวลสารในการสร้างพระเครื่อง-วัตถุมงคลของท่านนั้นก็ได้นำมวลสารผงวิเศษห้า ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นส่วนผสมในการสร้างด้วย เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ เมื่อครั้งที่ท่านมาช่วยสร้างพระเครื่องที่วัดบางขุนพรหมนั้น ท่านได้มาพักอยู่ที่วัดอินทร์กับหลวงปู่ภู และท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้สร้างพระหลวงพ่อโตไว้ที่วัดอินทร์แห่งนี้ แต่ยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มามรณภาพลงเสียก่อนตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ดังนั้น พระสมเด็จของหลวงปู่ภูจึงมีมวลสารผงวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผสมอยู่ด้วย

พระสมเด็จหลวงปู่ภู นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์แซยิดแขนหักศอก พิมพ์แซยิดแขนกลม พิมพ์เจ็ดชั้น พิมพ์หูติ่ง พิมพ์แปดชั้นแขนหักศอก พิมพ์แปดชั้นแขนกลม พิมพ์สามชั้นหูบายศรี พิมพ์ลีลา พิมพ์ปิดตา พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งมีทั้งแบบข้างเม็ดและพิมพ์ห้าเหลี่ยม พิมพ์ไสยาสน์ และพิมพ์ห้าเหลี่ยม เป็นต้น

พระสมเด็จหลวงปู่ภู ที่สร้างในยุคต้นๆ นั้นเนื้อหาจะดูจัดหนึกนุ่มคล้ายเนื้อพระสมเด็จของวัดระฆังฯ มาก และส่วนมากจะมีความหนาเป็นพิเศษ ในปีต่อๆ มาท่านก็ได้สร้างพระไปเรื่อยๆ จวบจนท่านมรณภาพ พระสมเด็จของหลวงปู่ภูที่มีความนิยมมากๆ และมีสนนราคาสูงก็คือพระสมเด็จพิมพ์แซยิดแขนหักศอกและพิมพ์แซยิดแขนกลม

ซึ่งสนนราคาพระสวยๆ สมบูรณ์อยู่ที่หลักแสนครับ พระพิมพ์อื่นๆ ก็นิยมรองลงมา เช่น พิมพ์แปดชั้นแขนหักศอก และพิมพ์แปดชั้น แขนกลม สนนราคาก็อยู่ที่หลักหมื่นปลายๆ ถึงแสน ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ ก็นิยมเช่นกันแต่สนนราคาจะย่อมเยาว์กว่า แต่ก็อยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ จนถึงหมื่นปลายๆ ครับ พระสมเด็จของหลวงปู่ภูเป็นพระที่น่าบูชาอย่างยิ่ง แต่ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ โดยเฉพาะพิมพ์แซยิด ทั้งพิมพ์แขนหักศอกและพิมพ์แขนกลม

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพและเจ้าของบทความ ที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

SaRaN WiKi

คาถาครูพักลักจำ

http://ddpra-neung.blogspot.com/

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: