1266. พระคาถาถอนคุณไสย ปิดเคราะห์ ตำรับ “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ”

คาถาถอนของปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ตำราหลวงปู่รุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ

นะโมเม สุขคะโต นะโมเม โสปัตติ นะโมสุคะโต โหติ อะสัญญัตตา จะ สัมภะวา

ปัจจุปันนา ปัญจะพุทธา เสติ นะโมสุคะโต จะ อะนาคะตา นะมามิหัง สัพเพ เทวา ยักขา เปตา ภูตา ปะริตา ปะโรคะตา อัคคะเน วา ชาเมตะยะมัง มะนุสสานัง สัพเพ โกทะวิทา วินาสสันติ ทะสา ตันจะ ปิยัง มุกขัง มุกคะปัตโต เอหิ สะเนโท สะเนทา สะเนหา นะเนโห จะ สัพเพ ชะนะมาเร ปะระชายา ชายะ มะหาโภโค มะหาโทโส พายะสะเต กัมเมนะ วินาสสันติ

สมุหะเนยยะ สมุหะคะติ สมุหะคะตา พัทธะเสมายัง เอวัง เอหิ นะเคลื่อน โมถอน พุทคลอน ธาถอน ยะหลุด ลอยเลื่อน เคลื่อนด้วย นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ พุทธัง ปัจจกขามิ ธัมมัง ปัจจักขามิ สังฆัง ปัจจักขามิ เอกาเสติ ปะสิทธิ เม เอหิ คัจฉะมุมหิ เปหิ เปหิ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ

นะโมพุทธายะ

นะรา นะระ รัตตัง ญานัง

นะรา นะระ รัตตัง หิตัง

นะรา นะระ รัตตังเขมัง วิปัสสิตัง นะมามิหัง

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง

เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ.

จุททสมคาถา(ปโชตา) คาถาที่ใช้สวดคู่กับชินบัญชร

๑.ปถมคาถา

ปะโชตา ธัมมะภา โหตุ โชติวะโร สะตาวะโห

ตาวะริโย สุวะ ตาภา ธะโร โยโค จ สุ สัมมา

๒.ทุติยคาถา

โภโนชิโย โยชิโนโภ โนปาตุโส โสตุปาโน

ชิตุโนมะ มะโนตุชิ โยโสนะภิ ภิมะโสโย

๓.ตติยคาถา

นะมามิตัง นะระวะรัง นะเยหิสะ นะรามะรัง

เนตุวา มะตัง ปะระติรัง นิพพุตโต สัพภิ โย ปะรัง

๔.จตุตถคาถา

โนธิโร มุนิโน มะโน โนมะโน ทะมะโน ธิโน

โนธิ โนตุถังคาโน โนโตมาโร ธิโน อูโน

๕.ปัญจมาคาถา

กะรุณาธิ กะจิตตัตโถ กะตาตโถ สะกะ ธัมมะโท

กะตะนะเม กะพุทธัสสะ กะตัญชุลิง กะโรมิหัง

๖.ฉัฏฐมคาถา

มะโนชิโต มะโตชิโน มะโนภิโต มะโตภิโน

มะโนธิโร มะโรธิโน มะโรตตะโน มะโนตตะโร

๗.สัตตมคาถา

นะมามิ นาถังวะระทังวะราทัง อะโนมะเกหา ภินะตังภะวัคคัง

กุมาระนาสัง วะราทังนะรานัง อะกามะเทหาภินะตัง ภัชชะนันติ

๘.อัฏฐมคาถา

โย โพธิปัตเต วะระโท นะรานัง เทวาติเทโวภิตะมาระนาโส

โยคาธิมุตโต สะระโส มะรานัง โอวาทะเทตัง ภินะมามินาถัง

๙.นวมคาถา

โย เทติเทวะเทโวคคัง มัคคังโนคคังผะลังตะโต

นะมามิตัง ระหะมัคคัง โนโสปาเลตวาปายะโต

๑o.ทสมคาถา

นะมามิพุธธัง ตะมะหังธิโย ธิโย นะมามิธัมมัง ตะมะหังชิโย ชิโย

นะมามิสังฆัง ตะมะหังริโย ริโย นะมามิติคคัง ตะมะหัง ภิยโย ภิยโย

๑๑.เอกาทสมคาถา

นะมามิตัง โย วินายัสสะ นายะเก นะรามะเรหิ ภินะโต วินายะโก

ชิโนริเชยโย วิมะโล วิโมจะโก ปัชชามะพุเชติ พุทโธ ปะโพธะโก

๑๒.ทวาทสมคาถา

มุนิโน วะทะนาภายะ ปะโพเธตุ ปัชชาปัชชัง

มุนิโน วะทะนาภายะ ปะโพเธตุ ปัชชาปัชชัง

๑๓.เตรสมคาถา

สิริกิระณะ กิระโฐ ภาสะปาทะทวะอัคคัง สิริกิระณะภิมานัง มาระมันตังวิธิสะตัง

สิริกิระณะนิเกตัง เกตุเมกัญจะ ติโลเก สิริกิระณะกะรัคคังโลกะนาถัง นะมามิหัง

๑๔.จุททสมคาถา

ติโลกะ มัคคา หะนะโก มะตัง นะเย สะวา สะนัง โยหะ มะลัง ปะธัง สะยิ

ติโลกะ มัคคา หะนะโก มะตัง นะเย ปะเควะ นิพพานะ ปุรัง ปะเว สิเย

พระคาถา ๑๔ บทนี้เรียก จุททสมคาถา ผู้ใดจำเริญ ระนึกยังพระคาถา จักเจริญ บริบูรณ์ด้วย เข้าของสมบัติ ยศ สิริเดช อายุ วัณณะ สุขะ พละ ทุกประการ

คาถาเสกน้ำ สาดหลังคาบ้านสะเดาะเคราะห์ ( เอาน้ำจาก ๗ บ่อ ๗ วัด ส้มป่อย ขมิ้น น้ำอบ มาใส่ขัน)

สะธัสพุทสัมมาสัม โตหะระอะ โตวะคะภะ สะตัส โมนะ

แล้วกลั้นใจว่าคาถานี้– อิสะวาหับ ๙ จบ

อมทุเรทุเรสะปะทุเรทุเรสวาหาย เคราะห์ปีอย่าใกล้มาเนอ เคราะห์ในอย่าชน เคราะห์บนดินลุ่มฟ้า

เคราะห์หน้าเคราะห์หลัง ปัสสะปัสสังพุทธังปัดปัด อมอัดงัดยัดสัดมัดมัดอัด

แล้วเอาน้ำสาดขึ้นบนหลังคาบ้าน ที่อาศัย พ้นเคราะห์ทั้งปวงแล

คาถาพระปิดเคราะห์

สัพพะปาปัง อะกะระณัง อุทธัง อัทโธ

โธอัธ ธังอัธ นะโมพุทธายะ ภะคะวา อะระหัง

อิสสะวาสุ สัพพะปิดเคราะห์

พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือหลวงพ่อรุ่ง ติสสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ พระคณาจารย์นามกระเดื่องแห่งเมืองสมุทรสาคร มีนามเดิมว่า รุ่ง พ่วงประพันธ์ เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา พุทธศักราช ๒๔๑๖ เป็นบุตรชายคนเดียวของ คุณพ่อพ่วง – คุณแม่กิม นามสกุล พ่วงประพันธ์

พื้นเพเป็นชาวกรุงเทพ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดน้อยนพคุณ เพื่อศึกษาเล่าเรียนอักขรสมัยตามธรรมเนียมขิงสัยนั้น จนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้แคล่วคล่องชำนาญเป็นอย่างดี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดน้อยนพคุณ เมื่อวันที่ ๕ พฤษถาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ โดยมี พระอาจารย์ทิม วัดน้อยนพคุณ เป็นอุปัชฌาย์ พระอธิการบัว วัดใหม่ทองเสน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์เคลือบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ติสสโร

ภายหลังอุปสมบท ได้เดินทางไปพำนักจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ท่ากระบือและได้พัฒนาจนมีความเเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ เมื่อว่างเว้นจากการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ได้ออกปฏิบัติธรรม แสวงหาครูบาอาจารย์ เพื่อศึกษาด้านพระเวทย์วิทยาคมกับพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ หลายองค์ของยุคนั้น เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่นาค วัดสุนทรสถิตย์ หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา หลวงปู่รุณ วัดช้างเผือก หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อหล่ำ วัดอ่างทอง หลวงพ่อเว่ง วัดหงษ์อรุณรัศมี

ผลแห่งกรรมบำเพ็ญเพียรเจริญภาวนาเป็นนิจ ทำให้สมาธิจิตแก่กล้าเข็มขลังอธิษฐานจิตปลุกเสกสิ่งใดจึงก่อเกิดอิทธิปาฏิหาริย์ อันยากจะหาคำอรรถาธิบายขยายความ ผนวกกับศิลาจาริยาวัตรของท่านงดงาม จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทุกหมู่เหล่า กิจด้านการพระศาสนาของท่านไม่เคยบกพร่องและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยจนเป็นที่ว่างใจแห่งคณะสงฆ์ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ต่างๆ ดังนี้

ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่ากระบือ

ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รับตราตั้งแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสมณศํกดิ์เป็นพระครูชั้นประทวนที่ พระครูรุ่ง

ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน

ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนาม พระครูไพโรจน์มันตาคม

ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิมคือ พระครูไพโรจน์มันตาคม

ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระไพโรจน์วุฒาจารย์

การสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณ เรืองเวทย์พุทธาคมยิ่งองค์หนึ่งของเมืองสมุทรสาคร ท่านได้สร้าง

วัตถุมงคลเอาไว้หลายชนิด ในวาระและโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอยู่เสมอ เช่น พิธีวัดราชบพิตรปี ๒๔๘๑ ,

พิธีพระพุทธชินราชอินโดจีน ณ วัดสุทัศน์ , และพิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นต้น

ประเภทเครื่องรางของขลัง นับเป็นวัตถุมงคลยุคแรก ๆ ของท่าน และมีการสร้างเรื่อยมากระทั่งท่านมรณภาพ มีหลาย ชนิด เช่น

๑. ตะกรุดมีเนื้อ ทองคำ นาก เงิน ทองแดง ตะกั่ว และหนังเสือ

– ตะกรุดชุด ๙ ดอก

– ตะกรุดสาลิกา

– ตะกรุดมหาอุด

– ตะกรุดมหารูด

– ตะกรุดโทนขนาดใหญ่-เล็ก

– ตะกรุดสามกษัตริย์

– ตะกรุดหน้าผากเสือ

๒. ไม้กระดอนสะท้อนสร้างจากไม้กระท้อนที่มีกาฝากขึ้น

๓. แหวนพิรอด , แหวนเนื้อโลหะชนิดต่างๆ

๔. เสื้อยันต์ มี ๒ สี สีขาวและสีแดง

๕. ผ้ายันต์จันทร์เพ็ญ

– ผ้ายันต์นางกวัก

– ผ้ายันต์หนุมานใหญ่-เล็ก

– ผ้ายันต์ตามราศี (มี ๑๒ ราศี ผืนละราศี)

– ผ้ายันต์พรหม ๖ หน้า

– ผ้ายันต์หนุมานเชิญธง

– ผ้ายันต์ตามวัน (มี ๗ วันผืนละ ๑ วัน)

๖. รูปถ่าย

– รูปถ่ายที่ระลึกคล้ายวันเกิด

– รูปถ่าย กันผี กันคุณ เมตตา ค้าขาย (มีทั้งนั่งหน้ากุฏิและนั่งหน้าโบสถ์)

– รูปถ่ายแบบยืน

– รูปถ่ายหลังสมเด็จวัดท่าพูด

– รูปถ่าย อายุครบ ๘๔ ปี

๗. พระปิดตา

๘. พระสมเด็จ

๙. ผ้าประเจียด เป็นต้น

ประเภทพระเครื่องและเหรียญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายกว้างขวาง ทั้งยังมีสนนราคาแพง และหายากยิ่ง ประกอบด้วย

๑. เหรียญสุคโต วัดอ่างทอง สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ จัดสร้างด้วยเนื้อเงินกับเมื้อทองแดงเท่านั้น

๒. เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สร้างประมาณ ๗,๐๐๐ เหรียญ แบ่งเป็น

๒.๑ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง หน้าหนุ่ม ยันต์ตรง แบ่งออกเป็น ๓ บล็อกคือ บล็อกตาขีด , บล็อกตาเม็ด , บล็อกยันต์ไม่มีไข่ปลา ทั้ง ๓ บล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อ ทองคำ , นาก , เงิน , อัลปาก้า , ทองฝาบาตร , ทองแดง (เนื้อเงินและเนื้อทองแดงมีบางเหรียญมีกะไหล่ทองหรือกะไหล่ไฟ)

๒.๒ เหรียญหลวงพ่อรุ่ง หน้าแก่ยันต์หยิก แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยมไม่มีแตก , บล็อกแตก ทั้ง ๒ บล็อก ปลุกเศกพร้อมกัน มีการสร้างด้วยเนื้อ ทองคำ , นาก , เงิน , ทองแดง

๓ เหรียญรุ่นสอง หลวงพ่อรุ่ง(หรือที่เรียกว่าหลังพระพุทธ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนินมมีขีด , และบล็อกไม่มีขีด ทั้ง ๒ บล็อกมีการจัดสร้างด้วยเนื้อ เงิน , ทองแดง

๔. เหรียญหล่อสามเหลี่ยมพิมพ์พระพุทธ หลวงพ่อรุ่ง สร้างด้วยเนื้อทองผสม สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑

๕. เหรียญรุ่นสาม หลวงพ่อรุ่ง พัดยศ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

๖. เหรียญเสมาออกวัดสวนส้ม หลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ แบ่งออกเป็น ๒ บล็อก คือ บล็อกนิยม ฑ.ศ. บี้ , บล็อกธรรมดา มีแต่เนื้อทองแดงกะไหล่ทองเท่านั้น เหรียญนี้ทันหลวงพ่อรุ่งแน่นอนเพราะพระอาจารย์แกละ เจ้าอาวาสวัดสวนส้มได้สร้างไว้ตั้งแต่ ปี ฑ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วจึงนำมาให้หลวงพ่อรุ่งปลุกเศกก่อนหลวงพ่อรุ่งมรณภาพ

ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อรุ่ง ทุกชนิดได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เฉพาะอย่างยิ่ง เหรียญรุ่นแรก เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสาครโดยแท้

พระไพโรจน์วุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๐๑.๕๐ น. รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๖๔ พรรษา และพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพและท่านเจ้าของบทความ ที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

เว็บไซต์วัดท่าไม้

คาถาครูพักลักจำ

https://www.web-pra.com

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: