1243. ต้นตำรับ เสกแล้วสับ “หลวงพ่อประเทือง วัดหนองย่างทอย”

หลวงพ่อประเทือง วัดหนองย่างทอย เพชรบูรณ์


ประวัติ

พื้นเพ ท่านเป็นชาวจ.ลพบุรี เกิดเมื่อวันที่๒ ธ.ค. ๒๔๗๑ ปีมะโรง โยมบิดาชื่อ “ธรรม” มารดาชื่อ “มาก” นามสกุล “ยืนยง” มีพี่น้องทั้งสิ้น ๕คน ท่านเป็นคนสุดท้อง ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา เยาว์วัยได้รับการศึกษาจบชั้นประถมปีที่ ๔ ที่ โรงเรียนวัดคลองเม่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และในช่วงนั้นเองได้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก ครอบครัวจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐาน ไปอยู่ที่ ต.ช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองแขม ต.ทุ่งทะเล

ท่านได้ศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์อ่อนที่วัดหนองแขม ซึ่งเป็นอาแท้ๆ และเป็น พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในด้านการวิปัสสนากรรมฐาน จึงสามารถถ่ายทอดวิชาดีๆ ให้กับท่านจนหมดสิ้น และเพื่อทดสอบวิชาที่ได้ถ่ายทอดมา พระอาจารย์อ่อนจึงได้ออกอุบายว่าจะพาไปเที่ยวให้เตรียมข้าวของสำหรับการเดิน ธุดงค์ ซึ่งมีข้าวตากแห้งเป็นอาหารในการเดินป่า ครั้นเมื่อออกพรรษาก็มุ่งหน้าเดินทางด้วยเท้าเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท จ.สระบุรี การเดินทางต้องขึ้นเขาลงห้วย

ครั้นถึงเวลาปักกลด หลวงอาก็ปักให้เสร็จ แล้วท่านก็เดินไปปักกลดอีกที่หนึ่ง พร้อมกับสั่งว่าห้ามออกไปไหนต้องอดทนจนกว่าจะรุ่งเช้า ครั้นเมื่อฟ้าสางหลวงอาก็พาออกบิณฑบาต แต่ไม่มีบ้านคนสักหลัง หลวงอาได้พาท่านเดินไปที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ และให้เอาบาตรวางใต้ต้นไม้ พร้อมกับเปิดฝาบาตรทิ้งไว้สักครู่ แล้วก็ปิดฝาบาตรนำกลับมาที่กลด เอาน้ำใส่บาตรแล้วดื่ม ซึ่งท่านไม่เข้าใจ แต่ก็ทำตามและฉันข้าวตากแห้งปฏิบัติเช่นนี้เสมอมา

เมื่อบิดามารดา ทราบข่าวว่าท่านมีความยากลำบาก จึงเกิดความสงสาร และอยากให้สึกออกมาช่วยงานที่บ้าน แต่หลวงอาก็มาพูดเกลี้ยกล่อมจนท่านใจอ่อนและยอมออกเดินธุดงค์ต่อไป ในการเดินทางท่านก็ได้สอนวิชาอาคมต่างๆ เช่น วิชาหุงสีผึ้ง วิชานะหน้าทอง ฯลฯ บางครั้งท่านก็จดเอาไว้ และปรนนิบัติดูแลเรื่อยมาและศึกษาหาความรู้ไปด้วยเป็นเวลา ๑ พรรษา

ต่อมาหลวงอาได้พาไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แต่ไม่ทราบว่าได้รับการถ่ายทอดวิชาอะไรบ้าง จนกระทั่งอายุได้ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดช่องแค ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยมีท่านพระครูทอง วิสาโร เจ้าคณะอำเภอตาคลี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แบ๊ง วัดช่องแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาตี่ วัดเขาวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ซึ่งวัดช่องแคในขณะนั้นมีหลวงพ่อพรหม ถาวโร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก

แต่น่า เสียดายที่หลวงพ่อประเทืองอยู่ได้เพียง ๑ พรรษา ก็ต้องลาสิกขาบทเพราะถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเป็นทหารอากาศประจำการที่ จ.ลพบุรี ท่านอยู่รับใช้ชาติถึง ๒ ปีเศษ มาเป็นสารวัตรทหาร และรับราชการที่กรมชลประทาน จนเกิดความคิดว่าชีวิตทางโลกไม่ใช่สิ่งที่ท่านต้องการ จึงลาออกจากราชการในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์อีกครั้ง ณ วัดโนนทอง อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ได้รับฉายาว่า “อติกฺกนฺโต” แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (ศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) และได้ตระเวนออกธุดงค์ จนไปพบกับอาจารย์เชื้อสายเขมร ชื่อว่า อาจารย์ บุญลือ ซึ่งเป็นฆราวาสและได้ถ่ายทอดวิชาแก่ท่านจนหมดสิ้น และหนึ่งในวิชาที่ขึ้นชื่อของท่านคือ การสักยันต์ ซึ่งท่านจะเสกเป่าพระคาถา แล้วใช้มีดสับลงบนหลังเพื่อทดสอบความขลัง อันเป็นที่มาของเจ้าตำรับ “เสกแล้วสับ”

ปีพ.ศ.๒๕๒๐ ท่านได้ออกเดินธุดงค์จนมาถึง จ.เพชรบูรณ์ และได้ตั้งสำนักสงฆ์ที่เขารอ ต.หนองย่างทอย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม พร้อมกับสร้างโรงเรียนไว้เพื่อสอนหนังสือให้กับเด็ก โดยจ้างครูมาสอนและท่านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ด้วยความสามารถของท่านจึงทำให้สำนักสงฆ์เล็กๆ กลายมาเป็น “วัดด่านเจริญชัย” ที่สวยงามมีเสนาสนะสมบูรณ์ทุกอย่าง

แต่เนื่องจากวัดด่านเจริญชัย อยู่ห่างไกลจากชุมชนและเส้นทางการจราจรไปยัง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อท่านจะเดินทางไปธุระยัง จ.เพชรบูรณ์ท่านมักมาแวะพักที่ศาลาเล็กๆ ของวัดหนองย่างทอย ซึ่งในอดีตนั้นเปรียบเสมือนวัดร้าง มีเพียงศาลาเก่าๆ เมื่อชาวบ้านในละแวกนั้นทราบว่าท่านมีฝีมือทางด้านการพัฒนาจึงขอร้องให้ท่าน ช่วยสร้างวัด โดยไปเกณฑ์ชาวบ้านใกล้เคียงมาช่วยกันถางหญ้า จนทำให้ท่านแพ้แรงศรัทธาของชาวบ้าน และอยู่สร้างวัดหนองย่างทอย โดยใช้ชื่อว่า “วัดเทพประทานพร” จนปรากฏความเจริญรุ่งเรืองมีถาวรวัตถุสวยงามเช่นที่เห็นในปัจจุบัน และท่านได้ปกครองดูแลพระเณร และเป็นที่พึ่งของชาวบ้านตราบจนกระทั่งมรณภาพ

วิชาอาคม

พระอาจารย์อ่อน นับว่าเป็นพระที่เชียวชาญเวทวิทยาคมมากทีเดียว และที่สำคัญยังมีความคุ้นเคยกับ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ยอดเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้เดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเดิมอยู่เป็นประจำ เมื่อกลับมาจากธุดงค์แล้ว หลวงอาอ่อนได้นำสามเณรประเทือง เดินทางไปวัดหนองโพ

ฝากฝังไว้เป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้ต้มน้ำร้อนน้ำชาอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อ เดิมตลอดเวลา หลวงพ่อเดิมเรียกท่านว่า “เณรจ้อน” เพราะท่านตัวเล็กกว่าสามเณรในวัดรุ่นเดียวกันทั้งหมดทั้งยังเมตตาแนะนำสั่ง สอนวิชาอาคมต่างๆให้อยู่เสอม หลวงพ่อเดิมไม่ได้ถ่ายทอดวิชาอะไรให้เพียงแต่กล่าวอยู่เสมอว่า วิชาอาคมที่หลวงพ่อเดิมสั่งสอนนั้นว่าวิชาอะไรก็ตามจะเข้มขลังได้ต้องอาศัย พลังจิตเป็นกำลังสำคัญ หากเราฝึกจิตสมบูรณ์แล้วก็สามารถปลุกเสกอะไรให้เกิดพลังเข้มขลังได้

หลวง พ่อพรหม ยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อประเทืองได้มีโอกาส ศึกษาเล่าเรียนสรรพวิทยาคมในสำนักหลวงพ่อพรหมแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าท่าน ได้ครองสมณเพศอยู่ได้เพียงพรรษาเดียว ก็จำต้องลาสิขา เพราะถูกหมายเกณฑ์ทหารไปเป็นทหารรับใช้ชาติ

ด้วยความเบื่อหน่ายปรารถนาจะ บวชอีกสักครั้งซึ่งในขณะนั้นมีอายุได้ ๒๙ ปี ๒๕๐๐ เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษไปด้วยก็ตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพนทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมณฉายาว่า อติกฺกนฺโต แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (หลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย)

หลวง พ่อได้เดินธุดงค์ไปตามเขาทั่วภาคตะวันออกเฉียงจรดไปถึงถ้ำนาแก นครพนม ได้พบกับพระป่านักปฏิบัติหลายรูปทั้งได้ขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จนกระทั่งได้มีโอกาสพบกับอาจารย์บุญลือ เป็นฆราวาส ชาวเขมร ผู้เก่งกล้าในด้านไสยศาสตร์ ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาถอนคุณไสยต่างๆ จนเป็นที่พอใจ แล้วเดินธุดงค์ต่อไป

พระเกจิที่ท่านได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมซึ่งท่านได้ลำดับครูบาอาจารย์ดังนี้

๑.พระอาจารย์อ่อน วัดหนองแขม นครสวรรค์

(มีศักดิ์เป็นอา ได้ศึกษาตั้งแต่เป็นสามเณร)

๒.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์

(เมื่อครั้ง ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้เป็นสามเณรที่วัดหนองโพ)

๓.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์

(ศึกษาอยู่ได้ ๑ พรรษา ตอนบวชครั้งแรก)

๔.พระอาจารย์เล็ก วัดคลองเม่า ลพบุรี (มีศักดิ์เป็นอา)

๕.หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง นครสวรรค์

(เมื่อครั้งอุปสมบทอยู่วัดโพธิ์ทอง ซึ่งหลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์ที่สืบทอดพุทธาคมมาจาก หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย)

๖.อาจารย์บุญลือ

(ไม่ทราบนามสกุล) เป็นชาวเขมร (เมื่อคราวออกธุดงค์)

เริ่มพัฒนาสร้างสำนักสงฆ์ และโรงเรียน

หลวง พ่อประเทือง ได้เดินธุดงค์ อยู่หลายสิบปีอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร ด้วยเหตุดลใจในนิมิตในขณะที่เข้า สมาธิอยู่นั้น ท่านได้เห็นการรบราฆ่าฟัน ของผุ้คนกันสมัยก่อน ซึ่งฝ่ายหนึ่งเป็นคนไทย ฝ่ายหนึ่งเป็นพม่าหรือขอม เพราะโพกผ้า ไว้บนหัว

จนกระทั่งกลับมายังอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์อีกครั้ง ภาพต่างๆที่เคยนิมิตรเห็นก็กลับทวี ความชัดเจนยิ่งขึ้น คือถ้าจิตเป็นสมาธิแน่วแน่เมื่อไร เป็นต้องเห็นนิมิตรอยู่บ่อยๆ จึงตัดสินใจปักหลักอยู่ที่นี่เพื่อต้องการค้นหาความจริงให้จงได้ เพราะรู้ด้วยญาณว่าดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แน่นอน

ใน พ.ศ.๒๕๒๐ จึงริเริ่มการพัฒนาตั้งสำนักสงฆ์ ด่านเจริญชัยขึ้นเป็นครั้งแรกบนเขารวก หนทางไปมาก็ไม่สะดวกนัก จึงย้ายลงมาอยู่ข้างล่างและที่แห่งนี้ท่านได้สร้างโรงเรียนขึ้นเพื่อสอน หนังสือเด็กๆชาวบ้านด้วยปัจจัยส่วนตัวของท่านเอง แล้วได้จ้างครูมาสอนหนังสือเด็กๆไปด้วย

โรงเรียนด่านเจริญชัย ในระยะแรกยังขาดหลังคากันแดดฝนอยู่ เงินงบประมาณที่ตั้งไว้แต่เดิมก็ไม่เพียงพอจึงได้ไปยืมเงินพี่ชายจำนวน ๔,๐๐๐ บาท มามุงหลังคา หลังจากนั้นก็หาทางปลดหนี้สิน แต่ไม่รู้จำทำอย่างไรดี ก็ประจวบเหมาะกับโยมสวย ชัยป้อม ได้นำตำรับตำราในการสร้างวัตถุมงคล ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ มาให้หลวงพ่อ จึงเกิดความคิดที่จะสร้างตะกรุดขึ้น แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอบามีธรรมครูบาอาจารย์ (หลวงพ่อเดิม) ให้ช่วย พร้อมกับเปล่งสัจวาจาว่า ..ข้าพเจ้าจะสร้างตะกรุดเพื่อประโยชน์ ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และขอเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็นเท่านั้น

การ ทำตะกรุดคราวนั้น หลวงพ่อยังไม่เชี่ยวชาญอักขระขอมยันต์เท่าไหร่นัก จึงจำเป็นต้องกางตำราหลวงพ่อเดิมประกอบไปด้วย วันหนึ่งๆจะลงยันต์อักขระตะกรุดได้ไม่เกิน ๓-๔ ดอก เนื่องจากการเขียนอักขระไม่คล่องนั่นเอง

ตะกรุดชุดแรก สร้างได้ ๓ ดอก ก็ให้นำไปทดลองกันเลย หลังจากที่ปลุกเสกเดี๋ยวแล้ว ผลการทดสอบปรากฏว่า ดอกแรกยิงไม่ออก ดอกที่สอง ก็ยังไม่ออกเช่นกัน ดอกที่สามท่านแกออกมาดู

ปรากฏว่าได้เขียนอักขระตกไปก็นำมาเขียนใหม่ แล้วให้ลองยิงดู ปรากกฎยังยิงไม่ออกเช่นเคย

ครั้น ต่อมา ท่านได้สร้างขึ้นอีกจำนวน หนึ่ง จนเกิดความชำนาญ เขียนและท่องบ่อยๆเข้า ก็ทำให้จำได้คล่องจนขึ้นใจ แล้วนำตะกรุดออกให้บูชาเพื่อหาทุนทรัพย์มาใช้หนี้สินและสร้างโรงเรียนให้จน สำเร็จ โดยที่หลวงพ่อออกเดินทางไปบอกบุญด้วยตนเอง

หลวงพ่อเดินทาง มายังจังหวัดลพบุรี พำนักอยู่ที่วัดหนองกระสังข์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ในคืนนั้นท่านจำวัดอยู่บนศาลา ได้มีขี้เมาสองคน เข้ามาหาแล้วพูดคุยสนทนากันถึงเรื่องต่างๆ หลวงพ่อเลยถือโอกาส บอกบุญไปด้วย แม้จะไม่ได้ตั้งความหวังอะไรไว้กับคนทั้งสอง ก็ยังดีกว่าที่จะไม่พูดอะไรเลย นายขี้เมาคนหนึ่งก็พูดว่า พระสมัยนี้หากินกันมาก หลวงพ่อก็พูดว่า จริงของเอ็ง แต่ที่ทำขึ้นนี่เพื่อการก่อสร้างสาธารณประโยชน์จริงๆ ถ้าไม่เชื่อลองตามไปดูโรงเรียนที่กำลังก่อสร้างเพื่อเด็กๆได้ เดี๋ยวนี้ก็ได้ แล้วก็ถามนายขี้เมาทั้งสองเป็นเชิงสอนว่า พระมีกี่อย่าง พระอิฐ พระเงิน พระทอง พระดิน มีไหม แล้วเอ็งเลือกเคารพบูชาพระแบบไหนหละ .

คนทั้งสองพอได้ฟังก็เกิดศรัทธาขึ้นมาบ้าง จึงใคร่นิมนต์ให้หลวงพ่อไปโปรดที่บ้านบ้าง

คืนนั้น คนทั้งสองก็ขออาศัยนอนพักบนศาลากับหลวงพ่อประเทือง ทั้งได้สนทนาพูดคุยกันถึงเรื่องราวต่างๆ แล้วตอนหนึ่งก็ได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า คนสมัยนี้จะทำบุญอะไรก็ตาม มักหวังสิ่งตอบแทน แล้วหลวงพ่อมีพระหรือของดีอะไรให้เขาบ้าง

เข้มขลังอลังการ ตามแบบฉบับหลวงพ่อประเทือง

หลวง พ่อก็ตอบไปว่ามีเหมือนกันเป็นตะกรุดโทน สร้างขึ้นเอง เป็นของใหม่ คนทั้งสองจึงขอลองดู เมื่อดูแล้วก็ไม่พูดว่ากระไร ได้นำตะกรุดลงจากศาลาไป แล้วนำไปวางบนขอนไม้ หลวงพ่อเห็นเหตุการณ์ดังนั้น ก็รู้ได้ท้นที จึงนึกถึงครูบาอาจารย์ขอบารมีให้ตะกรุดเกิดอิทธิปาฏิหาริย์

คนทั้ง สอง ได้หยิบปืน ขึ้นจ้องยิงใส่ตะกรุด นัดแรกยิงไม่ออกนัดที่สอง นัดที่สามก็ยิงไม่ออกดังเดิม นัดที่สี่ ลองหันกระบอกปืนยิงขึ้นฟ้า เสียงปืนลั่นดังโป้ง !

ทั้งสองคนวิ่งแล้วนำตะกรุดขึ้นไปกราบหลวง พ่อ แล้วพูดว่าตะกรุดดอกนี้ผมขอนะ หลวงพ่อบอกว่าเชือกตะกรุดยังถักไม่เสร็จเลย เขาก็พูดว่าไม่เป็นไร แล้วควักเงินจากกระเป๋าถวาย ๓๐ บาท เพื่อร่วมทำบุญกับหลวงพ่อ ทั้งยังถามว่า หลวงพ่อพักอยู่ที่วัดใด

ก่อนกลับสำนักสงฆ์ด่านเจริญชัย หลวงพ่อได้มอบตะกรุดให้ผู้ใหญ่เจริญ บ้านหนองกระสังข์ไว้ ๑ ดอก บุตรชายของผู้ใหญ่นำไปทดลองยิงดู โดยใช้ปืนแก๊ป ผลปรากฏว่าปืนแตก ก็ยังไม่เชื่อว่าเป็นของจริง ก็ไปหาปืนกระบอกใหม่มายิงอีก ปืนก็แตกอีก ได้นำเรื่องมาเล่าให้หลวงพ่อรู้แล้วกราบขอโทษที่ล่วงเกินลองของ โดยไม่ได้บอกกล่าวขออนุญาตก่อน ตั้งแต่นั้นมาตะกรุดของหลวงพ่อประเทือง ก็เป็นที่กล่าวขานไปทั่วเมืองว่า มีพุทธคุณเข้มขลังด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ใครๆ ก็อยากได้ไว้บูชา

เมื่อกลับมาถึงสำนักสงฆ์ ก็เกิดความเชื่อมั่นมีกำลังใจขึ้น ได้หาซื้อแผ่นทองแดงมาทำตะกรุดเพิ่มขึ้นอีก ในการทำตะกรุดนั้นมีหลายเนื้อแล้วแต่เนื้อโลหะที่จะหาได้ เพราะท่านไม่มีทุนมากมายนี่เอง ซึ่งมีทั้งเนื้อทองแดง ตะกั่วป่า กระป๋องสังกะสี (กระป๋องนม , ฝาปลากระป๋อง ) แล้วแต่แผ่นวัสดุจะเอื้ออำนวย จนกระทั่งได้ใช้หนี้สินหมดไปและแล้วโรงเรียนก็สร้างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ใน พ.ศ.๒๕๒๒หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต (พระครูวิทิตพัชราจาร)

วัดด่านเจริญชัย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ หนึ่งในตำนานเกจิอาจารย์สักยันต์ เจ้าตำรับ “เสกแล้วสับ” ได้ละสังขารลงอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๒ ม.ค. ๒๕๕๐ .เวลา ๑๖.๑๙ น.โดยประมาณ ณ.โรงพยาบาลเมืองใหม่ลพบุรี จ.ลพบุรี รวมสิริอายุได้ ๗๙ ปี

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

http://sitluangporprateuang.blogspot.com

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: