928. ย้อนรอยตำนานหลวงพ่อรุ่ง (วัดท่ากระบือ)

หลวงพ่อรุ่ง (วัดท่ากระบือ)
จะว่าไปแล้วลุ่มน้ำแม่กลองนั้นมีพระเกจิอาจารย์ระดับประเทศมากมาย นับไม่ถ้วนแต่พระเกจิอาจารย์ ที่จัดอยู่ในแถวหน้านั้นคงไม่มีใครไม่รู้จัก หลวงพ่อรุ่งแห่งวัดท่ากระบือ เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ มีคุณอันวิเศษมากมาย แม้กระทั่งรูปหล่อลอยองค์ของท่านที่อยู่ ณ วัดท่ากระบือ ถึงขนาดมีคนตกน้ำตายแล้วหาศพไม่เจอ แค่มาจุดธูปบนบานรูปหล่อของท่าน ไม่นานก็พบศพโผล่ขึ้นมาแถวหน้า วัดท่ากระบือ เป็นที่น่าอัศจรรย์กันทีเดียว

หลวงพ่อรุ่งถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๖ ที่บ้านหลังวัดน้อยนพคุณ อำเภอดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายพ่วง นางกิม พ่วงประพันธ์ ได้เข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่วัดน้อยนพคุณ โดยมีหลวงพ่อทัพ วัดน้อยนพคุณเป็นผู้สอน ร่ำเรียนอยู่จนอายุครบบวชจึงได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดน้อยนพคุณ โดยมีหลวงพ่อทัพ เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังจากบวชได้ไม่นานหลวงพ่อทัพ ขณะที่จำพรรษาอยู่นั้น ก็ได้รับการชี้แนะจากหลวงพ่อทัพว่าวิชาคาถา อาคมอักขระเลขยันต์ต่างๆ จะศักดิ์สิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อมีสมาธิจิตที่กล้าแข็ง และการจะทำสมาธิจิตให้กล้าแข็งได้ก็ต่อเมื่อมีการฝึกสมาธิจิตวิปัสสนากรรมฐานได้แข็งกล้า แต่ไม่ทันที่จะได้ร่ำเรียนอะไร

หลวงพ่อร่วมซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่อทัพ ได้สร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบือขึ้น แต่ขาดพระผู้ช่วย จึงได้มากราบขอให้หลวงพ่อทัพช่วยเหลือ หลวงพ่อทัพได้ขอแรงให้ท่านไปช่วยงาน พระอาจารย์ร่วมเป็นศิษย์ของหลวงพ่อทัพอีกองค์ ตอนนั้นหลวงพ่อร่วมได้กำลังสร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบืออยู่ ไม่มีพระเลขาที่จะคอยช่วยงาน ต่อมาพระอาจารย์ร่วมสิ้นบุญในผ้าเหลืองได้มากราบลา หลวงพ่อทัพ ลาสิกขาบทที่วัดน้อยนพคุณ หลวงพ่อทัพจึงถามพระภิกษุรุ่งว่าสนใจจะรับหน้าที่เป็นเจ้าสำนักสงฆ์ต่อหรือไม่

หลวงพ่อรุ่ง หลวงพ่อรุ่งเห็นว่าท่านก็เริ่มคุ้นเคยกับชาวบ้านแถวนั้นแล้ว ความเป็นอยู่ก็ไม่อัตคัดขัดสนอันใด จึงได้รับปากกับหลวงพ่อทัพสาสน์งานสร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบือ ต่อจาก หลวงพ่อร่วม ท่านใช้เวลาไม่กี่ปีก็สามารถสร้างสำนักสงฆ์ท่ากระบือจนแล้วเสร็จ ต่อมาขอพระราชทานวิสุงคามสีมา มีนามเป็นทางการว่า วัดท่ากระบือ แต่มิทันไรหลวงพ่อทัพ ก็มรณภาพลงไปก่อนที่หลวงพ่อรุ่งจะได้ไปฝากตัว เพื่อร่ำเรียนวิชาคาถาอาคม คงไว้แต่คำสั่งสอนก่อนที่จะไปสร้างวัดท่ากระบือว่ารากฐานของการเรียนสรรพวิชาคาถาอาคม หลวงพ่อรุ่งต่างๆ ให้ได้เข้มขลังนั้นต้องมาจากการเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานให้ดีเลิศเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนั้น

หลวงพ่อรุ่งได้ทราบข่าวมาว่า หลวงพ่อเกิด วัดสุนทรประสิทธิ์ (กำแพง) เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิปัสสนาธุระ ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวร่ำเรียนกับหลวงพ่อเกิด ด้วยความมานะอุตสาหะหลวงพ่อรุ่งจึงได้ร่ำเรียน

ได้อย่างคล่องแคล้ว จนเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจจากหลวงพ่อเกิดให้ท่านเป็นครูสอนกรรมฐานต่อจากท่านหลวงพ่อรุ่งได้อยู่สอนที่วัดกำแพงจนมีลูกศิษย์ลูกหา ที่ไว้ใจได้ให้สอนแทนท่านวัดกำแพง ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อหล่ำ วัดอ่างทอง พระอาจารย์ท่านนี้เก่งในเรื่องคงกระพันชาตรีเป็นยอดเมตตามหานิยมเป็นเยี่ยม ต่อจากนั้นก็ไปร่ำเรียนต่อกับหลวงพ่อเซ่ง วัดหงส์อรุณรัศมี ท่านนี้มีดีทางด้านมหาอุด ขณะที่ร่ำเรียนอยู่ที่สำนักนี้ ก็ได้มีฆราวาสท่านหนึ่งมาจอดพักเรืออยู่หน้าวัด ได้บอกกับชาวบ้านที่เดินผ่านไปผ่านมาว่า ใครอยากจะเจอมหาอุดตัวจริงให้ไปเอาแผ่นโลหะมาจะลงมหาอุดให้ ได้มีชาวบ้านในแถบวัดนำแผ่นโลหะไปให้ฆราวาสคนนั้นลงแล้วนำไปยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออกตามที่ฆราวาสคนนั้นได้กล่าวไว้

เรื่องรู้ถึงหูหลวงพ่อเซ่งจึงได้วานให้ชาวบ้านไปตามฆราวาสคนนั้นให้มาพบ แล้วจึงขอเรียนวิชามหาอุด โดยหลวงพ่อรุ่งก็ได้เรียนไปพร้อมกัน นับเป็นการเจอที่ประหลาดหลังจากนั้นก็ไม่มีใครได้พบเจอฆราวาสท่านนั้นอีกเลย

หลวงพ่อรุ่งท่านเป็นพระที่ชอบเดินธุดงค์ ท่านมักจะออกเดินธุดงค์ในทุกๆ ปีและมักจะออกธุดงค์เพียงรูปเดียว นับว่าท่านเชื่อมั่นในกรรมฐานของท่านมากๆ ว่าไม่ลองใคร ส่วนใหญ่ทานจะธุดงค์ไปทางภาคเหนือผ่านไปทางสุโขทัย ตาก ลำปาง เชียงใหม่เลยไปถึงพม่า และกลับมาในเส้นทางเดิมระหว่างทาง ได้แวะเยี่ยมและขอร่ำเรียนวิชากับอาจารย์ปลั่ง ฆราวาสขมังเวทย์ ซึ่งเป็นเกลอกับโยมพ่อของหลวงพ่อรุ่งเอง ระหว่างทางกลับนั้นได้แวะปักกลดแถววัดของหลวงพ่อเชย วัดท่าควาย จังหวัดสิงห์บุรี และได้ข่าวว่าท่านนี้เก่งในเรื่องพระปิดตา และวิชาถอนคุณไสย์ จึงได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ เมื่อร่ำเรียนจนเสร็จสิ้นแล้วหลวงพ่อเชยยังได้ให้ พระปิดตามาด้วย หลวงพ่อรุ่งได้นำออกแจกจ่ายจนมีบางคนเข้าใจผิดว่าเป็นพระ หลวงพ่อรุ่งของหลวงพ่อรุ่งสร้าง

หลวงพ่อรุ่งท่านเป็นพระที่มีญาณพิเศษนานับปการ จนลูกศิษย์ลูกหาได้สัมผัสถึงความศักดิ์สิทธิ์กันอย่างมากมาย จนเป็นที่กล่าวขานถึงกันอย่างมากในแถบวัดท่ากระบือ และใกล้เคียงจนอยู่มาวันหนึ่งช่วง ต้นปีพ.ศ.๒๕๐๐ หลวงพ่อรุ่งได้เอ่ยปากบอกกับศิษย์ว่า อยากได้อะไรก็ให้ขอนะเพราะฉันจะเสียในปีนี้แล้ว และได้พูดบ่อยขึ้น จนในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงพ่อรุ่งก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราในขณะที่ท่านอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา ซึ่งก็เป็นจริงตามที่ท่านได้ปรารภไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน นับเป็นการสูญเสียพระคณาจารย์ที่มีคุณอันวิเศษไปอีกหนึ่งท่าน

ที่มา : phangpra.com
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ศิษย์มีครู
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: