668. ตะกรุดข้า 500 ทุกดอก ถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ

ตะกรุดข้า 500 ทุกดอก ถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป
พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลางท่าเรือ(พระครูนอ)

ประวัติ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลาง เกิดวันอังคารที่ 31 มกราคม 2435 ตรงกับขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ณ บ้านศาลาลอย อ.ท่าเรือ เป็นบุตรของ นายสวน นางพุฒ งามวาจา
บรรพชา อายุ 17 ปี ณ วัดกษัตราธิราช
อุปสมบท ปี 2458 ณ วัดศาลาลอย
มรณภาพ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย
รวมสิริอายุ 86 ปี 63 พรรษา

หลวงพ่อนอ วัดกลาง ท่าเรือ

โยมบิดาตั้งนามว่า “นอ” อายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวย ที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย และได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาค และพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าเป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด

โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยมที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้ นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู การก็เป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทนตะกรุดหนังหน้าผากเสือหาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่า ตะกรุดโทนหลวงพ่อนอ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ

สุดยอดเครื่องราง ตระกรุดหนังเสือ
หนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนอ อยู่ในลำดับ เครื่องรางของขลังยอดนิยมอันดับ ๕ ครับ // แต่ปัจจุบันหลวงพ่อนอ น่าจะอยู่ในอันดับที่ 4 ครับ ตามลำดับ ดังนี้…หลวงปู่นาค – หลวงปู่บุญ – หลวงพ่อหว่าง – หลวงพ่อนอ – หลวงพ่อเต๋ – หลวงพ่อตาบ – หลวงพ่อคง จันทบุรี ฯลฯ ฟอร์มมาตรฐาน ถักหุ้มหัวท้าย (หรือเรียกว่าลายกระสอบ) =>> ราคาทำบุญจากวัดดอกเล็ก 500 บาท (ประมาณปี 2480 – 2495 ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดทีเดียว ขลังมากครับ) //

หนังหน้าผากเสือ ดีทางมหาอำนาจสูงมาก แต่ทั้งนี้เสือนั้นมีดี 3 อย่าง => (1)…เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว (2)…ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยมครับ (3)…หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร // หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 //และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2495 ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ สนามพระ ครับ

แต่เดิมนั้น หลวงพ่อนอ ท่านสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสกเมื่อเสร็จ ก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในระแวกนั้นนำไปใช้พกติก ตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตระกรุดโดนเหงื่อโดนน้ำโดนฝน ก็ทำให้ตระกรุดเกิดความเสียหาย ยุ่ยเปื่อย เสียรูปทรงง่าย

หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์ ก็จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำ หนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกทีจากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆแกนกลางจะใช้ทองแดง

คงไม่มีใครปฏิเสธเมื่อถ้ามีโอกาสเที่ยวสวนสัตว์ หรือคนสมัยก่อนเมื่อเข้าป่า ก็อยากเห็นหรือเจอเสือ ในทางกลับกันในใจเมื่อเห็นก็กลัวสุดๆ การสร้างตระกรุดต่างๆมีการนำวัตถุหลายๆอย่างหลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิในตัวมีทั้ง เมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด

บวกกับขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคม ของหลวงพ่อนอซึ่งขั้นตอนในการปลุดเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฏิปลุกเสกเงียบๆคนเดียวอยู่ในกุฏิ ช่วงเวลาปลุกเสก ลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสืบ

ต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตระกรุดหนังเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆแล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้วแม้นจะเป็นเรื่องเล่าขาน สืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆเลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตระกรุดหนังเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้น แรงแซงทางโค้งเนื่องจากเจตนาการสร้างดี พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ ความมาตรฐานนิยม ความหายากและจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจวบจนนิรันดร์ (ขอบคุณข้อมูลจากคุณathaiและพี่เกร็ดเพชร)

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ศิษย์มีครู
ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก : TNews
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: