3653. ใบสั่งสู่แดนประหาร (ไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม)

ไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องาม กลับสู่ฐานะเดิมหลังจากศาลฎีกาคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิตนายไพฑูรย์หรือเปีย พันธุ์เชื้องาม

โดยไม่มีเหตุอันควรบรรเทาโทษทั้งนี้เพราะจำเลยให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีมาโดยตลอดมิได้รับสารภาพหรือให้การเป็นประโยชน์แก่รูปคดีแต่อย่างใดทางต้นสังกัดได้นำสำเนาพิพากษาศาลฎีกาไปดำเนินการปลดร้อยตรีไพฑูรย์ พันธุ์เชื้องามออกจากตำแหน่งงดเบี้ยหวัดบำนาญตลอดจนให้คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับต้นสังกัดต่อไป

พูดถึงเรื่องนี้ไพฑูรย์มีสีหน้าและแววตาเปลี่ยนไปทันทีโดยบอกว่าสมัยนั้นตำรวจมีอำนาจล้นฟ้าสอบสวนสืบสวนทำสำนวนเบ็ดเสร็จก่อนส่งให้อัยการพิจารณาแม้จะมีการยกเลิกการลงทัณฑ์ที่เรียกกันว่า”จารีตนครบาล”

หลังจากกรมราชหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์พระบิดาแห่งประมวลกฎหมายไทยพระองค์เจ้าศักดิ์ระพีทรงตราประมวลกฎหมายอาญาและแพ่งพาณิชย์ตามหลักกฎหมายสากลเพื่อยกเลิกสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับประเทศตะวันตกได้สำเร็จในรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้ารัชกาลที่ 6 แต่ตำรวจไทยยุคนั้นจนถึงยุคต่อมาได้ใช้ในการซ้อมผู้ต้องหาให้จำยอมรับสารภาพสืบต่อมา

ไม่มีการให้พบทนายจนกว่าการสอบสวนจะเสร็จมีอำนาจฝากขังตามอำเภอใจโดยผัดฟ้องต่อศาล กว่าจะได้ประกันตัวหลายๆรายถูกหลอกให้ยอมรับสารภาพไปก่อนเพื่อจะได้รับการประกันตัวจะได้พบกับทนายนั่นคือการเปิดประตูคุกไว้ล่วงหน้าจนทนายเองก็ปวดหัวมัวตายังไม่พอไพฑูรย์บอกว่าได้รับพระราชทานอภัยโทษออกมาไม่นานจอมพลสฤษดิ์ก็ก่อการรัฐประหารขับไล่จอมพลป. พิบูลสงครามกับพลตำรวจเอกเผ่าศรียานนท์ (สิงห์เชิ้ตดำ)ออกจากตำแหน่งปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการด้วยประโยคที่ว่า

”ข้าพเจ้ารับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”

แถมยังตรากฎหมายว่าด้วยการกระทำตัวเป็นบุคคลอันธพาลกฎหมายดังกล่าวให้อำนาจตำรวจจับกุมผู้คุมขังผู้ที่เข้าข่ายกระทำการทำตัวเป็นบุคคลอันธพาลไปกักขังไว้เป็นเวลา 1 เดือนโดยไม่ต้องสอบสวน ฐานความผิดคือไม่ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งข่มขู่รีดไถเรียกค่าคุ้มครองมีรายได้จากการคุณหญิงนครโสเภณี เตร็ดเตร่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนทั่วไป ฯลฯ (ยุคนั้นเป็นยุคที่เรียกกันว่ายุค2499อันธพาลครองเมือง ทางกรมตำรวจจึงใช้กฏหมายนี้กำราบและอันธพาลทั้งหลายจึงลดน้อยลงไป)

ไพฑูรย์เล่าว่าต้องระวังตัวแจเพราะอันธพาลระดับเจ้าพ่อหลายคนหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยบ้างถูกส่งไปเกาะตะรุเตากฎหมายอันธพาลกับซ่องโจรขัดต่อกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเพราะกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด

กฎหมายฉบับดังกล่าวทำให้ไพฑูรย์ที่เป็นอดีตนักโทษอุกฉกรรจ์ถูกตำรวจเพ่งเล็งเป็นพิเศษอยู่ท้องที่ใดเกิดคดีขึ้นก็มักถูกเรียกไปสอบสวนหาเบาะแสทุกครั้ง กฎหมายทั้งสองฉบับถูกยกเลิกไปในที่สุดหลังจากสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนมาหลายสิบปี

เมื่อครั้งถูกจำคุกในคดียิงท่านขุนตระเวนฯไพฑูรย์ขอเป็นทนายแก้ต่างให้กับตัวเองเพราะถือว่ามีความรู้เรื่องกฎหมายอาญาเป็นอย่างดีเพราะเป็นนายทหารพระธรรมนูญมาก่อนแต่ด้วยการสร้างหลักฐานของตำรวจนิติเวชและฝ่ายสืบสวนสอบสวนจนถึงพยานที่ปั้นไว้เป็นอย่างดี

ครั้นถึงทีที่ไพฑูรย์ซักค้านอัยการค้านว่าถามนำผู้พิพากษาเห็นสมควรอัยการค้านว่านอกประเด็นผู้พิพากษาเห็นสมควร ไพฑูรย์จึงใช้ปากกาเขวี้ยงอัยการก่อนต่อมาถึงคิวผู้พิพากษาที่หนักที่สุดคือเขวี้ยงด้วยรองเท้ากลับไปถูกตีถูกซ้อม 1 สลบจากนั้นเมื่อจะมาศาลจึงถูกตีตรวนใส่ตุ้มล่ามขาที่มือสองข้างและที่คอเรียกว่า”จองจำ5 สถาน”

ท่านผู้มีพระคุณสูงสุดมิได้บีบบังคับให้ไพฑูรย์คืนสกุลและฐานะ แต่ไพฑูรย์ได้กราบแทบเท้ากราบเรียนว่าแม้คดียังไม่ถึงที่สุดก็ตาม หากไพฑูรย์คงใช้สกุลและฐานะความเสื่อมเสียจะตามมาในที่สุดสู้ใช้ชื่อและสกุลพันธุ์เชื้องามจะดีกว่า

ไพฑูรย์เก็บความแค้นไว้ในใจเพราะฝังใจว่าต้องคำพิพากษาประหารชีวิตไม่ยุติธรรมจึงตั้งสัตย์ปฏิญาณตนนับแต่เข้าไปในบางขวางว่า

”กูจะแหกคุกทุกครั้งที่มีโอกาสอำนวย” แหกคุกทุกครั้ง

หนังสือพิมพ์พาดหัวใส่สีตีไข่

”เสือไพฑูรย์แหกคุกบอกตำรวจว่าอย่าตาม ฆ่าเมียทรยศแล้วจะมอบตัว”

ไพฑูรย์เล่าว่าเมื่อแหกคุกครั้งแรก ที่ต้องการล้างแค้นเป็นอันดับต้นคือพ.ต.ท.ขุนพินิจนิติการ เป็นเพื่อนร่วมตายของขุนตระเวนฯ คนๆนี้คือผู้ที่เจ้ากี้เจ้าการจนได้รับเป็นผู้รับผิดชอบคดีร่วมกับพนักงานสอบสวนท้องที่ที่ทำให้ไพฑูรย์แค้นที่สุดคือการที่ขุนพินิจฯ มาร่วมสอบปากคำไพฑูรย์

เมื่อเผชิญหน้ากัน ขุนพินิจฯ จ้องหน้าไพฑูรย์แล้วพูดว่า

”นี่น่ะหรือคือร้อยตรีไพฑูรย์ที่ฆ่าขุนตระเวนฯตายไอ้เด็กเมื่อวานซืนมึงเก่งนักหรือว่ะไอ้เวร”

พูดจบก็ลุกขึ้นยืนตบหน้าไพฑูรย์ฉาดใหญ่จนหน้าหันปากแตกไพฑูรย์เล่าต่อไปว่าการถูกตบหน้าจนปากแตกไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่ที่เจ็บปวดที่สุดคือคนที่ตบไม่มีสิทธิ์ทำเช่นนี้กับผู้ต้องหา ถูกตบในขณะถูกใส่กุญแจมือหมดทางต่อสู้จึงตะโกนสวนกลับไปว่า

”มึงแต่งเครื่องแบบพระราชทานที่ทรงโปรดเกล้าให้มึงมาทำหน้าที่ตามกฎหมายที่กฎหมายกำหนด มิใช่ให้มึงใช้เครื่องแบบพระราชทานมาละเมิดกฎหมายตามอำเภอใจมึงแน่จริงมึงถอดเครื่องแบบพระราชทานออกเสียก่อนแล้วไขกุญแจมือมาฉะกับกูตัวต่อตัว คนอย่างมึงกูใช้มือข้างเดียวก็ล้มมึงได้ไม่ยาก”

สิ่งที่ไพฑูรย์ได้รับคือการถูกขุนพินิจ เดินมาถีบยอดอกจนหงายหลังจากเก้าอี้ลงไปกลิ้งกับพื้น แล้วตามเตะซ้ำจนเจ้าของคดีต้องมายืนคร่อมร่างของไพฑูรย์ก่อนพูดเตือนสติว่า

”หยุดได้แล้วครับท่านหากผู้ต้องหาบาดเจ็บมากจนถึงมือแพทย์แล้วละก็..เรื่องใหญ่นะครับท่านเพราะผู้ต้องหาเป็นอดีตนายทหารกรมพระธรรมนูญรู้แง่มุมและช่องทางกฎหมายดี”

ขุนพินิจฯ ได้สติเดินกลับไปนั่งตามเดิมจากนั้นจึงสอบปากคำเพิ่มเติมแต่ไพฑูรย์กวนอารมณ์ไปเรื่อยเรื่อยจนการสอบสวนต้องยุติลงก่อนกลับขุนพินิจฯยกมือชี้หน้าไพฑูรย์แล้วคำรามใส่

”ไอ้เวรมึงอย่าหวังว่าจะรอดกูมาคุมคดีเองมึงต้องถูกประหารสถานเดียวกูนี่แหละเฮ้ย…ลากคอไอ้พวกเลวสถุลแบบมึงเข้าหลักประหารมามากแล้วมึงคอยดูไปก็แล้วกัน”

”ขาก…ถุ้ย”
ไพฑูรย์ถือโอกาสขากเสลดแล้วถ่มใส่หน้าขุนพินิจฯเต็มหน้า

ไพฑูรย์เล่าว่าขุนพินิจฯแสดงความโกรธด้วยสีหน้าปั้นยากลุกขึ้นเต้นเร่าๆเอามือกุมด้ามปืนจนเจ้าของคดีต้องเข้าไปกอดแล้วร้องสั่งตำรวจชั้นผู้น้อยให้ลากตัวไพฑูรย์กลับไปที่คุมขัง ขุนพินิจฯร้องตะโกนไล่หลังว่า

”ไอ้เวรตะไลกูขอสาบานว่าจะลากคอมึงเข้าหลักประหารให้จงได้”

ขุนพินิจฯทำตามที่ได้พูดไว้ทุกประการ คือการทำสำนวนปั้นพยานทั้งวัตถุพยานจากนิติเวชและพยานบุคคลแม้แต่ตำรวจเวรที่เข้าเวรในคืนวันเกิดเหตุก็กลับคำให้การรูปคดีเปลี่ยนเป็นไพฑูรย์บุกเข้าไปยิงขุนตระเวนฯตายโดยมิได้มีโอกาสต่อสู้การชันสูตรศพขุนตระเวนฯ ทำใหม่ปืนประจำตัวของขุนตระเวนฯไม่มีรอยเข็มแทงชนวนเจาะท้ายกระสุน ทั้งๆที่ความจริงขุนตระเวนฯเหนี่ยวไกลปืนใส่ไพฑูรย์ถึง 3 นัด

แม้เข็มแทงชนวนจะเจาะจานท้ายกระสุนแต่กระสุนไม่ลั่นศพของขุนตระเวนฯ ที่หงายหลังลงไปนอนกับพื้นถูกจัดใหม่ในลักษณะถูกยิงโดยไม่มีโอกาสต่อสู้ขัดกับคำให้การของไพฑูรย์

ไพฑูรย์บอกว่าขุนพินิจฯต้องชดใช้หนี้ให้ไพฑูรย์ด้วยชีวิต

เมื่อไพฑูรย์แหกคุกออกมาจึงทำให้ขุนพินิจฯเพิ่มความระมัดระวังตัว เพราะแน่ใจว่าเป็นเป้าหมายของการล้างแค้นจากไพฑูรย์เพราะเป็นคนสร้างหลักฐานให้ไพฑูรย์เข้าหลักประหารในที่สุด

ไพฑูรย์เล่าว่าการแก้แค้นขุนพินิจฯเป็นปฏิบัติการที่ยากลำบากยิ่งนัก เพราะขุนพินิจเป็นมือปราบที่เก่งทั้งบู๊(ปราบปราม)และบุ๋น(การสืบสวนสอบสวน)เป็นนายร้อยตำรวจที่ได้รับทุนไปเรียนวิชาการสืบสวนสอบสวนและการปราบปรามในสถาบัน เอฟบีไอ ที่สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมกลับมาแต่กลับตกเป็นทาสอารมณ์มิได้คำนึงถึงความผิดถูกไพฑูรย์ถือว่าเสียเวลาไปเรียนเปล่าๆ

เพราะ เอฟบีไอ เป็นสถานที่หล่อหลอมเจ้าหน้าที่ทุกนายให้ทำทุกอย่างเพื่อสังคมส่วนรวมมิใช่เรื่องส่วนตัว

ไพฑูรย์ได้เล่าถึงการวางแผนแก้แค้นขุนพินิจฯอันเป็นเหตุให้ถูกตัดสินประหารชีวิตเป็นคดีที่ 2 เพราะไพฑูรย์ถือว่าเป็นผู้ทำให้ถูกประหารในคดีแรกตลอดจนหยามด้วยการตบหน้าและใช้เท้าถีบและเตะซ้ำในห้องสอบสวนไพฑูรย์ตัดสินใจในตอนนั้นว่าจะต้องสังหารขุนพินิจณให้ได้ หากแผ่นดินไม่กลบหน้าการถ่มน้ำลายใส่หน้าขุนพินิจฯเพื่อเตือนให้รู้ว่าลูกผู้ชายฆ่าได้แต่หยามไม่ได้

ในตอนหน้าเป็นตอนที่ไพฑูรย์บอกว่าเป็นคดีดังที่วงการตำรวจตั้งค่าหัวเสือไพฑูรย์ 30000 บาทไม่ว่าจับเป็นหรือตายพบกันตอนที่เรียกว่า ”ดับเอฟบีไอไทยแลนด์” ได้ในฉบับหน้าอดีตนายทหารกรมพระธรรมนูญท้ารบกับขุนพินิจมือปราบ เอฟบีไอ เกียรตินิยมจากสหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่ายิงปืนแม่นขนาดยิงใส่คมขวานให้คมขวานผ่าหัวกระสุนออกเป็น 2 ส่วนเท่ากันมีจุดจบอย่างไร

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : นักเลง โบราณ ตำนานหนังเหนียว
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : guitarthai.com
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: