3642. อภินิหารหลวงปู่ไข่

วัดบพิตรพิมุข อยู่ปากคลองโอ่งอ่างฝั่งใต้ เดิมชื่อวัดตีนเลนหรือวัดเชิงเลนเป็นวัดโบราณ กรมพระราชวังหลังทรงสถาปนาใหม่ในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานนามเปลี่ยนใหม่ว่าวัดบพิตรพิมุข รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์ด้วย

วัดนี้มีพระอาจารย์ที่มีพระเวทย์มนต์ขลังและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักการสร้างผู้สร้างเหรียญหลวงปู่ไข่สร้างเป็นโลหะรูปไข่เนื้อสัมฤทธิ์ ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ไข่นั่งสมาธิอยู่ตรงกลางจนจรดส่วนล่างของเหรียญตอนบนมีอักษรขอมตัวนูนเขียนตามความโค้งอ่านได้ว่า

“อินทรปรภิกขุ พุทธสังมิ นะโมพุทธายะ”

เหรียญนี้สร้างเมื่อพ.ศ. 2472 จำนวน 108 เหรียญ เหรียญแท้นี้หายากมากข้าพเจ้ามีพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าอยู่ 2 องค์ มีร้อยโทประกอบ สิงหเสนีย์อยากจะได้พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าโดยจะเอาเหรียญหลวงปู่ไข่มาแลก

ข้าพเจ้าตกลงทันทีเพราะเป็นเหรียญที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อันมหัศจรรย์จะนำมาห้อยคอให้กับเด็กชายเผด็จ อิศรานุวัฒน์ ซึ่งเป็นบุตรชายของข้าพเจ้าอายุได้ 2 ขวบแขวนอยู่ที่คอโดยมีสายสร้อยเงินใส่เหรียญหลวงปู่ไข่ไว้

วันหนึ่งนางลำจวน ซึ่งเป็นเมียข้าพเจ้าได้นำเสื้อผ้ามาซักที่ท่าน้ำซักที่เพซุง เพราะจังหวัดตากมีแม่น้ำปิงชาวบ้านร้านตลาดจะซักเสื้อต้องมาซักที่ท่าน้ำเป็นการสะดวกลำจวนแฟนข้าพเจ้าได้นำผ้ามาซักดังกล่าวและได้นำลูกชายมาด้วยโดยให้นั่งอยู่เบื้องหลังทางฝ่ายลำจวนก็ซักฟอกผ้าโดยปล่อยให้ลูกนั่งเล่นขันน้ำอยู่ที่แพซุง บังเอิญขันลอยน้ำตกจากแพซุง ลำจวนมัวแต่ซักผ้าอยู่ ลูกชายข้าพเจ้าเอื้อมมือคว้าขันและได้ตกน้ำลอยตามขันไป

ทางฝ่ายลำจวนเหลียวมาเห็นลูกตกน้ำแต่ไม่จมได้ลอยคู่ไปกับขันทันใดนั้นลำจวนก็ตะโกนร้องบอกว่า “ช่วยด้วยลูกฉันตกน้ำ” พร้อมกันนี้ลำจวนก็ได้กระโดดติดตามลูกไป น้ำกำลังไหลลง ลำจวนได้แหวกว่ายมาถึงลูกและได้นำลูกขึ้นฝั่งอย่างอกสั่นขวัญหายได้พาลูกขึ้นมาบนบ้านด้วยใบหน้าซีดเผือดและได้เล่าถึงเรื่องลูกตกน้ำให้ข้าพเจ้าฟัง

ข้าพเจ้าก็บอกว่าอภินิหารเหรียญหลวงปู่ไข่คุ้มครองปกปักรักษาเป็นที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ชาวบ้านแถวถิ่นละแวกใกล้ใกล้กันต่างล่ำลือถึงเหรียญของหลวงปู่ไข่ยังมีเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับแฟนและลูกข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าและแฟนได้เช่าบ้านเช่าอยู่ห้องที่อยู่นั้นเป็นห้องแถวปลูกโดยเจ้าของเดียวกันมีอยู่ 12 ห้องคืนนี้เป็นคืนมหาประลัยกัลป์ เป็นคืนวันที่ 12 มีนาคม 2474 พระเพลิงซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ได้เกิดขึ้นเผาผลาญห้องแถว ตั้งแต่ห้องที่ 1 จนถึงห้องที่ 5 จนถึงห้องที่ 7 ไหม้ไปจนถึงห้องที่ 12 แต่ห้องที่ 6 ซึ่งเป็นห้องของข้าพเจ้านั้นไฟกลับไม่ไหม้เป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์

ห้องแรกเป็นห้องของเถ้าแก่ซ้งกิม แซ่ฉั่ว และเป็นเจ้าของห้องทั้งหมด ที่ร้านขายเครื่องจักร เครื่องสูบน้ำมีประกันเพลิงเป็นเงินหลายแสนบาท เถ้าแก่ซ่งกิมได้ว่าเจ้านายเพลา สีลูกบวบเป็นคนเผาตึกแถว ค่าจ้างสมัยเงินแพง 1000 บาทถ้วน

ในคืนที่ไฟไหม้เป็นเวลา 24.00 น. นายเพลาผู้รับจ้างได้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้เอาน้ำมันเบนซินเทราดแล้วก็จุดไฟเผา บ้านเถ้าแก่ซ่งกิมซึ่งเป็นห้องแรกไฟได้ลุกลามวอดวายดังกล่าวไฟไหม้ลามรวดเร็วและมีลมกระโชกพัดโหมกระพือไม่ถึงสองชั่วโมงบ้านและห้องแถวทั้งหมดพังพินาศสิ้น

นายเพลาผู้รับจ้างเผาเมื่อเผาเสร็จแล้วก็รีบวิ่งหนีไปแต่บังเอิญมีคนเห็นตัวเป็นพยานหลายคนตำรวจจึงติดตามจับตัวไว้เพื่อรอส่งอัยการ นายเพลารับสารภาพตามข้อหา นายเพลาได้ให้การซักทอดเถ้าแก่ซ้งกิมเป็นจำเลยร่วมกันสมคบกับนายเพลา

มีสิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์มีอาถรรพ์พิสดารเป็นปาฏิหาริย์ที่เหลือเชื่อ บ้านข้าพเจ้าซึ่งอยู่ตรงกลางเป็นห้องที่ 6 ยังเหลือรอดที่ไฟไม่ไหม้ มีตำรวจและชาวบ้านมาดูบ้านข้าพเจ้า ลำจวนแฟนข้าพเจ้าบอกกับตำรวจและชาวบ้านว่าที่คอลูกชายมีเหรียญหลวงปู่ไข่ ซึ่งได้คุ้มครองรักษาบ้านไม่ให้ไหม้

ทางวงการตำรวจมีความพิศวงสงสัยที่บ้านข้าพเจ้าไฟไม่ไหม้ตำรวจต้องการเรียกข้าพเจ้าพร้อมด้วยแฟนมาสอบสวนที่โรงพักถึงวันเกิดเหตุว่าลำจวนและลูกอยู่ที่ไหน ลำจวนก็ให้ถ้อยคำว่านอนอยู่กับลูกที่บ้านได้ยินเสียงตะโกนบอกว่าไฟไหม้ไฟไหม้ เธอจึงตื่นตกใจเห็นแสงไฟรุ่งโรจน์แล้วเธอก็รีบอุ้มลูกหนีออกจากบริเวณนั้นมาพักที่ตำบลหนองหลวง ซึ่งเป็นบ้านน้าของเธอ ตำรวจถามถึงข้าพเจ้าลำจวนก็บอกว่าไม่อยู่ไปต่างจังหวัดไปธุรกิจค้าขาย 15 วันจะกลับวันนี้เป็นวันที่สามีจะกลับพอดี

ข้าพเจ้ากลับมาจากต่างจังหวัดพอมาถึงที่บ้านเห็นบ้านระแวกแถวถิ่นนั้นไฟไหม้หมดเห็นเหลืออยู่บ้านเดียวซึ่งเป็นบ้านของข้าพเจ้ารอดจากการถูกไฟไหม้ ข้างฝาบ้านมีแต่รอยไหม้เกรียมข้าพเจ้านึกถึงภาพปั้นของหลวงปู่ไข่ ซึ่งข้าพเจ้าได้จ้างช่างปั้นให้เป็นเครื่องเคารพสักการบูชาได้ถามชาวบ้านแถวนั้นว่าลำจวนแฟนและลูกของข้าพเจ้าไปไหน

ชาวบ้านก็บอกให้ว่าภรรยาของข้าพเจ้าถูกตำรวจเรียกสอบสวน ข้าพเจ้าก็มาที่สถานีตำรวจมาถึงก็เห็นภรรยาอยู่ที่โต๊ะโดยมีร้อยตำรวจโทสุขุม ปิ่นแสงซึ่งเป็นนายตำรวจร้อยเวรข้าพเจ้าก็ทำความเคารพ นายตำรวจก็ถามถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าที่บ้านข้าพเจ้ามีอะไรบ้างข้าพเจ้าก็บอกว่ามีภาพปั้นของหลวงปู่ไข่ซึ่งได้คุ้มครองช่วยปกปักรักษาให้มีแต่ความสุขความเจริญ

ท่านผู้อ่านที่รักที่มีเหรียญหลวงปู่ไข่ก็ควรเก็บรักษาอย่าให้สูญหาย เพราะเป็นเหรียญที่มีประสิทธิภาพจัดลำดับได้ว่าเป็นเหรียญที่เป็นเครื่องรางของขลังและอยู่ยงคงกระพันชาตรีดังเรื่องราวที่มีอาถรรพ์อันมหัศจรรย์ที่ข้าพเจ้าพบเจอมาแล้ว

ปัจจุบันเหรียญหลวงปู่ไข่ เป็นพระเหรียญที่แพงที่สุด
เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ราคาพระเหรียญที่แพงที่สุดในโลก 30ล้านบาท (ราคา ณ ปี2557)ถือได้ว่าแพงสุดๆในบรรดาเหรียญพระสงฆ์เนื้อทองแดงซึ่ง

เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข รุ่นแรก ปี2473 และ พระปิดตาหลวงปู่ไข่ จะขึ้นชื่อว่าสุดยอดของความแพง คืออยู่ในหลักล้านบาท ซึ่งสร้างไว้กลายเป็นตำนาน เหรียญพระสงฆ์ เหรียญพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความนิยมเทียบเท่า หรือสูงกว่าเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ที่เคยจัดลำดับไว้ในอดีต

เช่น เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และเหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้นแต่มีเหรียญหนึ่งที่ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ทั้งหมด

และก็ไม่ได้จัดอยู่ในชุดเบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ด้วย พระเหรียญที่แพงที่สุด เหรียญนั้นคือ เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข หรือวัดเชิงเลน กทม. สร้างปี 2473 สันนิษฐานว่าสร้างเหลืออยู่ไม่เกิน 70 เหรียญ(ในหนังสือที่อาจารย์ไพฑูรย์ที่ท่านเขียนเมื่อปี2520ท่านระบุว่ามี108เหรียญแต่เซียนยุคนี้บอกมีเพียง70เหรียญ)

◎ประวัติหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพ◎

หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ท่านเป็นชาวแปดริ้ว เกิดที่ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2400 โยมบิดาชื่อกล่อม โยมมารดาชื่อบัว เมื่อท่านอายุได้ 6 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ

ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร และได้ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพลงหลวงปู่ไข่จึงได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อำเภอพนัสนิคม ชลบุรี จนท่านอายุได้ 15 ปี พระอาจารย์จวงก็มรณภาพลง ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน สมุทรสงคราม

หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลนได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมี
พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้นท่านก็ได้ไปเรียน วิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่ จังหวัดกาญจนบุรี แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ไข่ท่านออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี ท่านออกธุดงค์อยู่ได้ 15 ปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด

เกียรติคุณของท่านก็เป็นที่รู้จักจนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ่างยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก ต่อมาท่านจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี

ท่านจึงได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดพบิตรพิมุขตลอดมา ระหว่างที่ท่านอยู่ที่วัดนี้ท่านก็ได้สอนพระกรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรและ ฆราวาสเสมอมา นอกจากนี้ ก็ได้ช่วยรักษาผู้ที่ป่วยไข้ได้ทุกข์มากมาย

ทั้งยังได้บอกบุญแก่ญาติโยมให้ช่วยสร้างพระพุทธปฏิมากร ซ่อมแซมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุด สร้างพระไตรปิฎก และปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมกุฏิภายในวัด จนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวัน

ชื่อเสียงของ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน นั้นโด่งดังมาหลายทศวรรษแล้ว เพราะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สร้าง พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ที่มากด้วยพุทธคุณ และ เหรียญรูปเหมือน มีค่านิยมสูงในวงการพระเครื่อง

นอกจากนี้ยังมีพระอรหัง กลีบบัวเคลือบ และไม่เคลือบ เครื่องราง เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด และรูปถ่าย แม้ หลวงปู่ไข่ ไม่ได้มียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นเพียงพระหลวงตาประจำวัด แต่การปฏิบัติ และกิตติคุณของท่าน เป็นที่เลื่องลือว่าทรงวิทยาวรคุณ เป็นพระวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง และมีคุณธรรมสูง เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปฏิบัติธรรม

เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นอกจากจะเป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติแล้ว ท่านได้สร้างพระแจกให้ลูกศิษย์ และผู้ที่มานมัสการท่าน เพื่อนำไปบูชาให้เกิดสิริมงคลอีกด้วย ปรากฏว่า วัตถุมงคลหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ที่ท่านแจกไปนั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเด่นในด้านเมตตา คงกระพัน มหาอุด และดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง

หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็น ประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นอันมาก

หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมถะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่เจ็บไข้ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์

ท่านมรณภาพลงเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2475 ด้วยวัย 74 ปี พรรษา 54 นับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นปีที่ 84 แล้ว แต่ความเชื่อความศรัทธาในบารมีแห่งตัวท่าน ผ่านวัตถุมคลของท่าน ยังคงอยู่ในความทรงจำ และความรู้สึกของลูกศิษย์อยู่เสมอ

เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เหรียญพระที่มีราคาแพงที่สุด

นายอรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย หรือ บอย ท่าพระจันทร์ ผู้เชียวชาญด้านเหรียญพระคณาจารย์ของสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย อธิบายให้ฟังว่าปกติแล้ว ถ้าเป็นเหรียญวงรีรูปทรงไข่ การสร้างเหรียญตั้งแต่ปี 2460- 2480 ประมาณ 98% จะเป็นเหรียญชนิดหูเชื่อม

แต่ความพิเศษของเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ แม้จะสร้างในปี 2473 กลับเป็นเหรียญหูในตัว เข้าใจว่าจำนวนการสร้างที่น้อย ประมาณการว่ามีการสร้างเหรียญรุ่นนี้เพียง 70 เหรียญเท่านั้น (สร้างตามอายุ) ในกรณีการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่มีการสร้างในหลักร้อยเหรียญขึ้นไป

การผลิตเหรียญรุ่นนี้ เป็นเป็นเหรียญข้างเลื่อย ชนิดหูในตัว
(เหรียญที่เลื่อยเผื่อหูสำหรับเจาะรูภายหลัง โดยเหรียญและหูเชื่อมทำมาพร้อมๆ กัน) ในอดีตนักเลงพระบอกต่อๆ กันมาว่า เป็นเหรียญหูเชื่อม (เหรียญกับหูเชื่อมทำคนละครั้ง มาเชื่อมต่อกันภายหลัง)

สันนิษฐานว่า เซียนไม่อยากเปิดเผยจุดสำคัญ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นได้ว่า เซียนต้องการซื้อเก็บไว้เอง ขณะเดียวกันอาจจะมีความรู้เรื่องเหรียญมากพอ ส่วนเหตุผลที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีค่านิยมสูงมาตั้งแต่อดีตนั้น บอย ท่าพระจันทร์ บอกว่า เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดจากนักเลงพระยุคก่อนๆ ว่า

“เป็นเหรียญในตำนาน ใครได้ครอบครองถือว่า เป็นสุดยอดของคนเล่นพระเหรียญ” อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่แปลกมาก แม้ว่าไม่มีใครกล่าวถึงประสบการณ์ การรวมทั้งการเช่าซื้อ ก็เกือบจะไม่มีข่าวในวงการเลย ครั้งสุดท้ายมีการเช่าซื้อกันเมื่อปลายปี 2551 ในราคาสูงถึง 5 ล้านบาท

แม้ว่าเป็นเหรียญเก่าราคาแพงที่ผ่านการใช้งานมาชนิดที่เรียกว่ามองหรือแยกไม่ออกว่าเป็น เหรียญหลวงปู่ไข่ ราคาขายไปประมาณ 3 แสนบาท เหตุผลหนึ่งที่มีคนกล้าเช่าในราคาสูง เพราะถ้าเป็นคนเล่นเหรียญพันธุ์แท้ ต้องมีเหรียญหลวงปู่ไข่ด้วย ” การทำปลอมนั้น มีทั้งหูในตัว หูเชื่อม แต่ฝีมือการทำปลอมยังห่างไกลมาก เพราะไม่มีเหรียญแท้ไปเป็นแบบ เรียกว่าเก๊ดูง่าย

ตลอดเวลาที่อยู่ในวงการพระมานาน เคยเห็นเหรียญหลวงปู่ไข่ที่หมุนเวียนอยู่ใน ตลาดพระเครื่อง และหนังสือพระเพียง 4 เหรียญเท่านั้นนอกจากเหรียญหลวงปู่ไข่ รุ่นแรก ซึ่งเป็นรุ่นเดียวนั้น ยังมี พระปิดตาหลวงปู่ไข่ ที่มีการแสวงหาในหลักล้านบาท

แต่ก็เป็นเรื่องแปลก สำหรับ พระอรหังกลีบบัวหลวงปู่ไข่ ค่านิยมอยู่ในหลักพันปลายๆ เท่านั้น เข้าใจว่าจำนวนการสร้างมีมากนั่นเอง

” บอย ท่าพระจันทร์ กล่าว ด้านนายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอกว่า จริงๆ แล้วเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก แพงทุกองค์ คือ 1.พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเคลือวัลย์ จ.ชลบุรี 2.พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี 3.พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) กทม. 4.พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี และ 5.พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จ. ฉะเชิงเทรา

หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลนท่านเป็นพระที่สมถะ รักสันโดษ มีความเมตตาต่อสานุศิษย์ทุกคน แม้กระทั่งเหล่าเจ้าขุนมูลนายในสมัยนั้น ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับท่าน

พระเครื่องราคาแพงที่สุดในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหรียญหลวงปู่ไข่ และพระปิดตาหลวงปู่ไข่ จะขึ้นชื่อว่าสุดยอดของความแพง คืออยู่ในหลักล้านบาท แต่ยังมีพระดีราคาถูก พระเครื่องที่มีพุทธคุณไม่แพ้กัน คือ พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งเป็นเหรียญที่หลวงปู่ไข่สร้างไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.2470 ซึ่งสร้าง พระอรหังกลีบบัวหลวงปู่ไข่ ไว้แจกโดยตรงเป็นว่าพระใช้งาน จำนวนมากหน่อย ปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก พระอรหังกลีบบัวหลวงปู่ไข่ สวยๆก็อยู่ที่หลักหมื่น แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในหลักพัน

(น่าเก็บนะครับพระอรหังกลีบบัว)

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: