912. หลวงพ่อทองสุขวัดโตนดหลวง สุดยอดเกจิยุคอินโดจีน

หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ๏

พระเถราจารย์ผู้มีตบะบารมีแก่กล้าแห่งเมืองเพชรบุรี หลวงพ่อทองสุข หรือหลวงพ่อวัดโตนดหลวง จ.เพชรบุรี ยอดพระเกจิผู้ทรงพุทธาคมโดยเฉพาะมหามนตราหนังเหนียวคงกระพันชาตรีมีชื่อเสียงโด่งดังมากในห้วงสงครามอินโดจีนซึ่งชาวเมืองเพชรต่างเลื่อมใสศรัทธาอย่างสุดยิ่งยวด ถึงแม้ว่าตัวท่านเองนั้นจะเคยเป็นโจรมาก่อนก็ตามที

ด้วยกิตติศัพท์อันเกริกไกลของหลวงพ่อทองสุข อินทโชติ จากคุณงามความดีที่ท่านสั่งสมและศิลาจารวัตรที่งดงามสมควรแก่การกราบไหว้นับถือตลอดความเป็นผู้มีไสยเวทอาคมแก่กล้าเข้มขลังเหลือคณานับ

ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นบุคคลสำคัญระดับชาติจำนวนมิใช่น้อยเลยความชำนิชำนาญจนจบในวิทยาคมของท่านนั้นช่ำชองถึงขนาดเพียงแค่ลมปากที่ท่านเป่ากระหม่อมให้กับศิษย์ยานุศิษย์ทั้งหลายซึ่งนอกจากจะเป็นสิริมงคลแล้วยังให้คุณทางมหาอุดอยู่ยงคงกระพันหนังเหนียวอีกด้วยเสมือนมีเกราะแก้วคุ้มกันผองภัยให้กับผู้นั้นอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งผู้ใดได้รับการเป่ากระหม่อมจากหลวงพ่อทองสุขจะรอดพ้นจากภยันตรายต่างๆและครอบคลุมถึงป้องกันศาสตราวุธทุกชนิดมิอาจทำร้ายได้ไม่ว่ายามใดหรือถ้าจะให้มหามนตรา หนังเหนียว อยู่ติดตัวไปจนวันตาย ก็ต้อง สักยันต์ที่ราวนมซึ่งถือเป็น สัญลักษณ์ของศิษย์สำนักวัดโตนดหลวงถ้าผู้ใดได้รับการสักยันต์ดังกล่าวแล้ว ผิวหนังจะคงทนต่อคมอาวุธทุกชนิด

เมื่ออายุ9 ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด โดยเป็นศิษย์เจ้าอาวาสหลวงพ่อก็เล่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้ และยังได้เรียนหนังสือขอมและบาลีอีกด้วยหลวงพ่อยังรักการต่อสู้ รักในวิชาหมัดมวย กระบี่กระบอง จนต่อมาภายหลังได้มีลูกศิษย์ลูกหาในวิชาเหล่านี้หลายคน

ต่อมา เมื่ออายุ 15 ปี ย้ายไปอยู่ที่บ้านเพลง จังหวัดราชบุรี เป็นระยะหลวงพ่อเป็นวัยรุ่นหนุ่มคะนอง จึงชอบเที่ยวเตร่คบเพื่อน ไม่ค่อยอยู่ติดบ้าน ชอบไปแสดงลิเก ละครโขนหนัง จนขนาดเป็นครูสอนผู้อื่นได้ ครั้นเมื่อเบื่อการแสดง ลิเก ละคร ฯลฯก็เที่ยวเตร่ไปโดยไม่มีจุดหมาย จนไปคบพวกนักเลงอันธพาล จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาลและในที่สุดเป็นอาชญากรสำคัญในย่านเพชรบุรี ราชบุรี และสมุทรสงครามต้องคอยหลบนี้อาญาบ้านเมือง ซุกซ่อนอยู่ในป่าด้วยความลำบากยากแค้นครั้นหนึ่งหลบหนีเข้าไปในป่าจนไม่ได้กินอาหารเลย 3 วันตอนนี้เองได้สำนึกตัวได้ว่าตนได้ดำเนินชีวิตผิดทางเสียแล้วถ้าไม่กลับตัวย่อมจะได้รับความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจจึงตัดสินใจเล็ดลอดเข้าอุปสมบท ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 32 ปี

หลวงพ่อบวช ครั้งนั้น ตรงกับวันที่ 12กรกฎาคม 2452 ณ.วัดปราโมทย์ ตำบลโรงหวี อำเภอบางคนฑี จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีหลวงพ่อตาด วัดบางวังทองเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่ออุปัชฌาย์ได้จำพรรษาอยุ่ที่วัดปราโมทย์ 4 พรรษาแล้วไปอยู่วัดแก้ว 2 พรรษา จังหวัดราชบุรี และไปอยู่วัดใหม่ 1พรรษา ต่อจากนั้นก็ออกธุดงค์ไปกับสามเณรจันทร์ (พระครูจันทร์ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสวัดมฤคทายวัน) หลังจากธุดงค์ไปหลายจังหวัดแล้วในที่สุดก็มาถึงตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ ขณะนั้นพอดีวัดโตนดหลวงขาดสมภารชาวบ้านไปพบหลวงพ่อก็เกิดเลื่อมใส จึงนิมนต์ไปอยู่วัดโตนดหลวงเพื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.2548 หลวงพ่ออายุได้38 ปี

ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระศาสนายังความเจริญแก่ท้องถิ่นชุมชนดังปรากฏผลงานมากมาย ทางคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อทองสุขเป็น พระครูกรรมการศึกษา,พระอุปัชฌาย์,และในที่สุดก็ได้รับสมฌศักดิ์เป็นพระครูพินิจสุตคุณชื่อเสียงกิตติศักดิ์ของ หลวงพ่อทองสุขนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายกว้างขวางในช่วง สมครามอินโดจีนซึ่งท่านได้รับนิมนต์ให้เป็นหนึ่งใน 108 พระเกจิ ที่นั่งปลุกเสก พระพุทธชินราชที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยจัดสร้าง ณ.พระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯและพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญอีกหลายครั้ง อาทิวัดราชบพิธ ในงานปลุกเสกแหวน มงคล 9,ได้นิมนต์ท่านเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก พระเครื่องงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษซึ่งเป็นพิธีครั้งยิ่งใหญ่มโหฬารที่สุด

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : พุทธคุณแดนสยาม
แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: