755. ประวัติคุณพ่ออาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง โดยกลุ่มศิษย์อาจารย์เอกใหญ่ วัดบึงพระอาจารย์

ชีวประวัติ “((กับหลักฐานและประวัติที่แท้จริง))และข้อมูล ประวัติของพระอาจารย์ ปลอด สุคันธจัทร์ แห่งวัดบ้านชุ้ง และคุณพ่ออ.ฟัอน ดีสว่าง ของอาจารย์ เอกใหญ่ ได้มารวมประมวลชำระประวัติ”ที่แท้จริง” และ จากการได้ลงพื้นที่แต่ล่ะที่ เพื่อสืบประวัติ ของครูบาอาจารย์แต่ก่อนเก่า “clip VDO ภาพพื้นที่ และหลักฐานที่บันทึกประวัติ”

และภาพสถานที่ จากกลุ่มศิษย์ที่รวบรวมได้มากที่สุด “และใช้เวลานาน” โดยกลุ่มศิษย์อาจารย์เอกใหญ่ วัดบึงพระอาจารย์ ประวัติคุณพ่ออาจารย์ฟ้อน ดีสว่าง เรียบเรียงจาก บันทึกของคุณลุง นคร พินศิริกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. บุรีรัมย์คนแรก) และท่านเป็นศิษย์คุณพ่ออาจารย์ ฟ้อน ดีสว่างด้วย โดย อ.เอกใหญ่ บึงพระอาจารย์ เรียบเรียง เมื่อหลังจากที่โยมพ่อโยมแม่ คุณพ่ออ.ฟ้อน ดีสว่าง จะย้ายครอบครัวไปอยู่ โพธิ์เก้าต้น ลพบุรี หลวงพ่อปลอด สุคันธจันทร์ ได้ขอตัวหลาน คือคุณพ่ออาจารย์ ฟ้อนไว้ ให้อยู่ด้วย โดยให้คุณอาจารย์ฟ้อน ท่านได้บวชเณร อยู่กับท่าน ที่วัดบ้านชุ้ง จนกระทั่ง

เมื่อท่านโตเป็นหนุ่ม มีอายุครบบวช อาจารย์ฟ้อน ก็บวชเป็นพระสงฆ์ อยู่ที่วัดบ้านชุ้งนี่เอง และได้ศึกษาพระธรรมวินัยตลอดจนถึง เรียนเชียนอ่านไทย รวมถึงภาษาบาลี สันสกฤษ และขอมโบราณ สามารถอ่านออกเขียนได้ อย่างคล่องแคล่วว่องไว เพราะสมัยนั้นไม่มีโรงเรียน ใช้วัดเป็นที่เรียนหนังสือ ทุกคนต้องมาเรียนที่วัด และในเวลาต่อมาพระฟ้อนก็ได้เกิดอาพาธ เป็นริดสีดวงจมูกทำให้เกิดแผลเน่า มีกลิ่นเหม็นประกอบกับ ไม่ได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง เกิดหนองไหลออกมาและมีกลิ่นกระจายไปทั่ว

พระที่วัดและผู้คนที่มาทำบุญ มีความรังเกียจมากขึ้น จะออกไปบินฑบาตรก็ไม่ค่อยได้ ท่านจึงได้ปลีกตัวมาอยู่ลำพังไกลออกไป จากผู้คนที่เคยคุ้นเคยมาแต่ก่อน ในที่สุดก็ตัดสินใจไปหาที่อยู่ใหม่ ที่โคกวัดร้างมีโบสถ์เก่าแก่ ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก มีต้นโพธิ์ใหญ่มีกิ่งก้านร่มเงาดี และมีฐานเจดีย์ที่ยอดพังลงมา

และมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์หนึ่งหน้าตักกว้างประมาณ2เมตรสูง2เมตรครึ่งอยู่บนแท่นใบโบสถ์ กิ่งโพธิ์นั้นให้ร่มเงาทอดไปถึงพระพุทธรูป เหมาะที่จะต่อเพิง มุงสังกะสี ไว้อยู่อาศัยพักนอนได้อย่างสบาย ท่านก็กลับไปบอกเล่าให้ญาติพี่น้องของท่าน ให้มาช่วยทำเป็นที่พักแบบเพิงหมาแหงน มุงสังกะสีเอากระดานขึ้นมาปูพอเข้านอนอยู่ได้ ญาติก็รีบมาทำให้ได้แล้วเสร็จในวันเดียว แล้วพระฟ้อนก็ได้มาจำวัดอยู่ที่นี่ ถือว่าเป็นที่สัปปายะเงียบสงบ และร่มเย็นอย่างมาก

ท่านก็เริ่มฝึกนั่งสมาธิ และใช้ลานพื้นโบสถ์ เป็นที่เดินจงกลม สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ด้วยจิตใจอันสงบ เช้าขึ้นก็ออกเดินบินฑบาตร ตามบ้านใกล้อยู่แถบนั้น มาพอฉันเช้าเวลาเดียวก็พอเพียง การปฏิบัตินั่งสมาธิทำจิตใจให้สงบ และยังกำหนดจิตพุ่งตรงไปที่โพรงจมูก ที่เป็นริดสีดวง ที่ยังมีอาการเจ็บปวด เพื่อดับเวทนาความเจ็บปวดนั้น ด้วยการนั่งสมาธิวิปัสนากรรมฐานอยู่ประมาณ 10 กว่าวัน นอกจากความเจ็บหายแล้ว แผลที่เน่าเปื่อยนั้นก็ค่อยๆหายไป คงเหลือเพียงรอยแผลเป็น กับเนื้อจมูกที่เหลือเป็นรูปสามเหลี่ยม

พระฟ้อนเองก็แปลกใจอย่างมากเช่นกัน นับได้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาท่านก็ยิ่งมีจิตตั้งมั่นในสมาธิ และในคืนวันหนึ่งอากาศเกิดเปลี่ยนแปลงไปฉับพลัน ในขณะที่ท่านกำลังปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาอยู่ เป็นเหตุให้ท่านจำต้องถอนสมาธิออกมาดู เนื่องจากขณะนั้นก็เกิดมีฝนฟ้าร้องคำรามดังขึ้น ได้เกิดฟ้าผ่าลงมาตรงโคนต้นโพธิ์ ดังสนั่น ท่านก็ได้มองตามไป ได้เห็นเพนียงแสงไฟสีเขียวแดง ก็รู้สึกแปลกใจว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากฝนหาย

ท่านก็นำตะเกียงตามไฟแล้วก็เดินไปที่โคนต้นโพธิ์ แลเห็นพื้นดินเป็นโพรงลงไปใต้โคนโพธิ์ รุ่งขึ้นจึงได้ไปตามญาติโยม มาขุดขึ้นมาดู พบสิงห์โตกระเบื้องเคลือบสีคราม ตัวใหญ่พอสมควร ญาติโยมเมื่อทำความสะอาดแล้ว จึงได้ลากมาวางไว้ข้างเพิง ปฏิบัติธรรมของท่าน คืนนั้นก็เกิดฟ้าผ่าลงและเกิดไฟเพนียง ที่สิงห์โตตัวนั้นอีกครั้งนึง พระฟ้อน ท่านจึงได้ตรวจค้นสิงห์โตอีกครั้ง จึงพบช่องลับ ซึ่งภายในบรรจุแผ่นศิลา จารึกพระคัมภีร์พระเวทย์วิเศษสุด จำนวน14แผ่น แต่ละแผ่นหนาประมาณ1นิ้ว กว้างประมาณฝ่ามือคน ยาวสองคืบเศษ เท่ากันทุกแผ่น สลักจารจารึกพระคาถาเป็นภาษาขอม ซึ่งพระฟ้อนท่านได้เคยศึกษา ทั้งภาษาขอม และภาษาไทยอย่างเชี่ยวชาญ

ท่านจึงเอาภาษาขอมมาถอด เขียนเป็นภาษาไทย ไว้เพื่อง่ายต่อการทบทวน พระฟ้อน ท่านมีความรู้สึกดีใจ และปลื้มใจเป็นอย่างมาก ที่เทพยดา ผู้เฝ้าดูแลตำรา และครูบาอาจารย์เจ้าของตำรา ได้ประทานพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ มาให้ท่านโดยเฉพาะ พระฟ้อนท่านก็ได้ยกนำแผ่นหินทั้ง14แผ่น นำมาเรียงไว้บนหัวนอนแล้วท่องจำอยู่ 7 วัน 7 คืน ท่านจำได้หมดไม่ได้มีความขาดตกบกพร่อง เลยแม้แต่ตัวเดียว หลังจากนั้น ท่านก็บรรจุแผ่นศิลาคืนกลับในตัวสิงห์โต ไว้อย่างเดิมจากนั้น ท่านก็เรียกญาติโยม เอาเชือกผูกสิงโตหินนั้นแล้วก็ช่วยกันลาก ส่งลงไปถึงก้นโพรงที่โคนต้นโพธิ์ แล้วกลบดิน โดยมิได้บอกเรื่องราวนี้แก่ใคร

พระฟ้อนก็มานั่งพักอยู่หน้าพระประธานในโบสถ์ร้างนั้น คิดว่าจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร ท่านหวลคิดไปทบทวนบทคาถานั้นอยู่ ท่านก็คิดขึ้นมาว่า จะใช้คาถาบทที่ 1 คือเรียกงูและผูกปากงูนำมาใช้ก่อน เพราะใต้ฐานเจดีย์ร้างที่ยอดเจดีย์ที่หักพัง ลงมากองอยู่บนพื้นดินนั้น ท่านเคยเห็นมีงูเห่าเข้า-ออกอาศัยอยู่หลายตัว พระฟ้อนก็เดินมาที่ฐานเจดีย์นั้น จากนั้นท่านจึงบริกรรมคาถา แล้วกวักเรียกงูเห่าให้ออกมาหา แล้วท่านก็เห็นงูเห่าเลื้อยออกมา จากใต้ฐานเจดีย์ ถึงหกตัว

ท่านก็เกิดความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ว่าคาถาอาคมนี้ช่างศักดิ์สิทธิ์จริง ท่านก็เอามือขวา กวักมือให้งูเข้ามาใกล้ๆ โดยใช้คาถาบทที่ 1 นั้นอีก งูเห่าทั้ง 6 ตัวก็เลื้อยมานอนเรียงกัน เป็นแถวแล้วชูหัวแผ่แม่เบี้ย แลบลิ้นและส่ายหัวอยู่ไปมา จากนั้นพระฟ้อนก็บริกรรมคาถาผูกปาก งูเห่าทั้งหกตัวแล้วชี้นิ้วไปที่งูเห่าทั้งหกตัว ทันใดนั้นงูเห่าทั้งหมดก็หุบปากหยุดแลบลิ้น และหยุดแผ่แม่เบี้ยลงทันทีและลดลงหัวต่ำลงพื้นตามเดิม แล้วทุกตัวก็นอนสงบนิ่ง ท่านก็ยืนคิดว่าจะปฏิบัติอย่างไรกับงูเห่าทั้งหกตัวนี้ จากนั้นพระฟ้อนก็ใช้ คาถาบทที่ 1 และท่านก็กวักมือเรียกงูทั้งหมดหกตัวนี้ไปที่พัก พวกมันก็เลื้อยตามท่านไป พอท่านได้นั่งลง พวกมันก็หยุดนิ่ง ท่านกวักมือ ให้มันเข้าไปเข้าแถวอยู่ใกล้ท่าน แล้วมันก็เลื้อยไปตามสั่ง

ท่านใช้มือสั่งให้มันขดเป้นวงกลมตามมือที่หมุน มันก็หมุนเป็นวงกลมให้ดูแล้วพวกมันก็ทำตาม บางตัวก็เอาหัวพาดลำตัวพักนอนเงียบนิ่ง

แล้วพระฟ้อนก็นั่งพักผ่อนดื่มน้ำ สูบบุหรี่และคิดว่าจะให้งูทำอะไรต่อ นังพักอยู่แล้วก็คิดขึ้นมาได้ว่า ใกล้ค่ำแล้ว จะสั่งให้มันชูหัวขึ้นคำนับ3ครั้ง แล้วจะให้มันกลับไปที่อยู่ของพวกมันที่ใต้ฐานเจดีย์ แล้วท่านก็โบกมือสั่ง งูเห่าทั้ง6ตัวก็ตื่นขึ้นชูหัวสูงขึ้น คำนับสามที แล้วพระฟ้อนก็บอกให้มันกลับไป มันก็กลับไปตามสั่งทันที หลังจากนั้นชาวบ้านเริ่มได้ข่าว ว่าพระฟ้อน หายอาพาธแล้ว จึงได้นิมนต์ท่านกลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านชุ้งต่อไป

คุณพ่อ อ.ฟ้อน ดีสว่าง ท่านเกิด ปี 2426 ที่บ้านชุ้ง นครหลวง สิ้น 2489 ที่วัดบึงพระอาจารย์

Cr.กลุ่มศิษย์อาจารย์เอกใหญ่ วัดบึงพระอาจารย์

——————————————————————————-

ติดตามเรื่องราวครูบาอาจารย์ได้เพิ่มเติมที่

แอพเกจิ Facebook: www.facebook.com/appgeji

Web Sit: www.appgeji.com

App Store (IOS): https://appsto.re/th/wlGScb.i

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: