6063. อัลคาโปน ตำนานมาเฟียสุดคลาสสิกของประวัติศาสตร์อาชญากรโลก

ภาพยนตร์ในฮอลลีวูดเกินครึ่งหนึ่งมักจะนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแก๊งมาเฟีย เพราะหลงใหลในเสน่ห์ของโลกมืด ที่เต็มไปด้วยเสียงปืน ความรุนแรง และการฆาตกรรม

ถ้าจะพลิกแฟ้มอาชญากรตัวเอ้ของโลก ที่ขึ้นหิ้งกลายเป็นตำนานสุดคลาสสิกของประวัติศาสตร์อาชญากรโลก คงต้องเอ่ยถึงชื่อ อัลคาโปน เจ้าพ่อมาเฟียอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1930 เรื่องราวชีวิตของเขามีสีสันน่าค้นหายิ่งกว่าใคร และได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาเป็นหัวหน้าแก๊งมาเฟียใหญ่ “เอาต์ฟิต” ในชิคาโก สามารถควบคุมเมืองใหญ่อันดับต้นๆของอเมริกาอย่างเบ็ดเสร็จทั้งเมือง มีเครือข่ายผลประโยชน์ธุรกิจผิดกฎหมายครอบคลุมหลายด้าน ไล่ตั้งแต่ บ่อนพนัน, ยาเสพติด, ซ่องโสเภณี, การค้าเหล้าเถื่อน, รับจ้างทวงหนี้ ไปจนถึงการปล้น, จี้ และฆาตกรรม สร้างรายได้เข้ากระเป๋าปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็รอดพ้นเงื้อมมือของกฎหมายมาได้ตลอด เพราะเจ้าหน้าที่รัฐแทบทุกคนในชิคาโกรับสินบนจากอัลคาโปน ในบรรดาคดีที่ก่อไว้ยาวเป็นหางว่าว คดีที่สะท้านวงการที่สุด ซึ่งทำให้อัลคาโปนมีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั้งเมืองก็คือ การยิงถล่มศัตรูคู่แค้นในวันวาเลนไทน์ ดับชีพ 7 ผู้นำคนสำคัญของแก๊งมาเฟียคู่แข่งอย่างโหดเหี้ยม อย่างไรก็ดี หลังเรืองอำนาจมานานกว่าทศวรรษ การแผ่ขยายอิทธิพลมืดของอัลคาโปนต้องยุติลง เมื่อเขาถูกจับเข้าคุกด้วยข้อหาเลี่ยงภาษี ก่อนจะเสียชีวิตอย่างอนาถด้วยโรคซิฟิลิส ขณะอายุเพียง 48 ปี

อัล คาโปน เขาเป็นทั้งนักธุรกิจ หัวหน้าแก๊งค์อันตพาล ช่วงทศวรรษที่ 20-30 ในช่วงที่วายร้ายป่วนเมืองทั่วอเมริกา และเขาเคยเป็นผู้ที่ทำให้ FBI ต้องปวดหัวหนักแล้ว แม้ว่าอัล คาโปนจะมีประวัติอาชญากรรมจะหนากว่าพันหน้าแต่ก็เอาผิดเขาไม่ได้ จนกระทั้งเขาถูกจำคุกในข้อหา “หลีกเลี่ยงภาษี” (เวรกรรม ฆ่าคนมากมายไม่ติดคุก) ทำให้อัลคาโปนถูกส่งไปยังคุกอัลคาทราซ เอาเป็นการสิ้นสุดยุค อัล คาโปน นับแต่นั้นเป็นต้นมา

จาก ลูกช่างตัดผมสู่เจ้าพ่อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา อัล คาโปน มีชื่อจริงว่า อัลฟองเซ่ คาโปเน(Alphonse Gabriel) เกิดใน ค.ศ. 1899 ในบรูนิค นิวยอร์ค เป็นบุตรคนที่ 4 ของครอบครัวอพยพชาวอิตาลี หัวหน้าครอบครัวชื่อกาเบรียล คาโปเน ที่อพยพมาหากินในอเมริกาตั้งแต่ปี 1894 โดยหอบลูกเมียมาอยู่ด้วย ด้านการกินอยู่ของครอบครัวของอัล คาโปนก็เหมือนกับครอบครัวอพยพทั่วๆ ไปแหละ พ่อทำงานหนักเพื่อเลี้ยงครอบครัว อยากให้ลูกมีอนาคต จึงเลี้ยงลูกให้มีระเบียบวินัย แต่กระนั้นก็ปล่อยลูกเที่ยวเล่นเป็นบางครั้งเพราะมั่วแต่ทำงานทำให้

อัล คาโปนล้มเลิกการเรียนหนังสือ ในขณะที่เรียนได้เกรด 6 เพื่อ ช่วยงานหาเงินในครอบครัว แต่เพราะความจนทำให้อัล คาโปน ต้องอยู่ในวงจรแก๊งนักเลง ฉกชิงวิ่งราว ข้างถนน และด้วยความที่เขาฝีมือดี เและเอาตัวรอดเก่ง ทำให้ได้รับการชักชวนจากแก๊งของเจ้าพ่อ จอห์นนี ทอร์ริโอ

ช่วงปีค.ศ.1918 อัล คาโปน ออกจากแก๊งเพื่อทำงานสุจริตโดยทำงานเป็นบาร์เทนเดอร์ที่ร้านเหล้า ฮาวาร์ด อินน์ และต่อมาถูกแกลลูซิโอ ที่อยู่คนละแก๊งกัน ทำร้ายจนหน้าของเขาเป็นแผลเหวอะ จนกลายเป็นแผลเป็นหน้าบากจนเขาได้รับฉายาว่า ไอ้หน้าบาก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อ อัล คาโปน อายุ 19 ก็แต่งงานกับ เม ค็อกลิน อายุ 21 ปี เป็นสาวสวยจากคนชั้นกลางฐานะดี และมีลูกชื่อ อัลเบิร์ต ฟรานซิส คาโปนซึ่งช่วงนี้ต้องการเงินเพื่อสร้างฐานะมาก จึงลาออกจากบาร์เทนเดอร์มาเป็นคนดูแลร้านหนังสือพิมพ์บิลติมอร์ แต่ทำไม่นานก็ลาออก และเข้ามาทำงานผิดกฎหมายกับแก๊งทอร์ริโออีกครั้ง

ธุรกิจ ใต้ดินของแก๊ง จอห์นี ทอร์ริโอ ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว และต่อมาจอห์นี ทอร์ริโอได้วางมือและแก็งค์ ให้ แฟรงกี เยล อาจารย์ของอัลคาโปนสืบทอดแทน โดยมีอัล คาโปน ที่ก้าวมาเป็นมือขวา

จาก นิวยอร์ค บรูคลิน สู่ชิคาโก จอห์นนี ทอร์ริโอที่คิดว่าตัวเองเหมือนซีซาร์ ยังขยายอำนาจไปทั่ว จนอาณาเขตมาเฟียของเขาใหญ่มาก แต่กระนั้นในช่วงปั้นปลายทอร์ริโอเริ่มวางมือและกลับไปใช้ชีวิตตามประสาคน แก่ที่บ้านเกิดที่อิตาลี เลยให้อำนาจทั้งหมดแก่ อัล คาโปน ดูแล และอัล คาโปน ก็ไม่ให้สมาชิกแก๊งผิดหวัง พร้อมเปิดโครงการใหม่ๆ เช่น การพนัน การแข่งม้า ชนไก่(มีหรือเปล่า?) และที่สำคัญท้าทายอำนายรัฐคือ ธุรกิจเหล้าเถื่อน ซึ่งกฎหมายอเมริกาในช่วงนั้นคุมเข้มเรื่องการลับลอบนำเข้าเหล้าเถื่อนข้าม เขตแดนมาก ซึ่งกฎหมายนี้ทำให้สุราขาดตลาด อัล คาโปน เห็นจุดหากำไรนี้เลยเริ่มเปิดโครงการ แต่ด้วยโครงการนี้เป็นโครงการสร้างกำไรมหาศาลทำให้แก๊งของอัล คาโปน ต้องเปิดศึกสาดกระสุนจากแก๊งอื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง

แม้ อัล คาโปนจะเป็นมาเฟีย แต่อัล คาโปน ยังมีนิสัยน่ารักอยู่สองอย่างคือเขารักเพื่อนพ้องและผู้มีพระคุณมาก ขนาดยอมตายแทนได้ และเขาจะไม่สังหารเด็ก และผู้หญิงของแก๊งคู่อริโดยเด็ดขาด(อันนี้เป็นกฎประจำแก๊งมาเฟียทั่วไปใน ชิคาโก)

เดือนมกราคม ปี ค.ศ.1925 จอห์น นี ทอร์ริโอ กลับบ้านมาอยู่ชิคาโก ขณะที่ทอร์ริโอเดินถือของตามหลังภรรยาอยู่ใน จู่ๆ มีชายสองคนมายิงเขา 4 นัด เข้าที่แขนขา ต้นขา หน้าอก และที่คอ แต่ทอร์ริโอดวงแข็งรอดชีวิตมาได้ อัล คาโปนทราบข่าวจึงรีบไปเยี่ยมและนั่งเฝ้าเจ้านายเขาเคียงข้างเหมือนดั่งพ่อ ลูกไม่หลับไม่นอน เมื่อทอร์ริโอหายก็เจอคดีจำคุก 9 เดือน และปี 1925 จอห์นี ทอร์ริโอ ก็มอบอำนาจทั้งหมดของแก๊งให้อัล คาโปน เป็นผู้สืบทอดอย่างเป็นทางการ

ปี ค.ศ. 1925 อัล คาโปน ส่งลูกชายเขาไปโรงพยายามและบังเอิญพบ แฟรงกี เยล อดีตเจ้านายและอาจารย์เก่า ก็คุยตามประสาคนคุ้นเคย จนกระทั้งแฟรงกีกล่าวถึงว่าจะมีมือปืนจากแก๊ง ริชาร์ด โลเนอร์แกน ลอบสังหารเขากับสมาชิกแก๊งของคา โปน ในงานวันคริสต์มาส ที่คลับอโดนีส เยลเตือนว่าให้อัล คาโปนล้มเลิกเป็นเจ้าพ่อเถอะ มันไม่คุ้ม แต่ อัล คาโปน ไม่ฟังคำเตือน ในงานวันงานคริสต์มาส พวกสมาชิกอัลคาโปนเตรียมอาวุธครบมือเต็มที่ เขาเชิญให้โลเนอร์แกนมางานนี้ด้วย พอโลเนอร์แกนมาถึง ลูกน้องของอัล คาโปนที่ซุ่มอยู่ก็จ่อยิงทั้งเจ้านาย และลูกน้องตายหมด และนี้คือที่มาของ “ฆาตกรรมหมู่ที่อโดนิส”

แม้ อัลคาโปนจะได้ตำแหน่งหัวหน้าแก๊ง แต่ความแค้นที่มีต่อผู้ลอบยิงเจ้านายที่เขารักเหมือนพ่อนั้นยังไม่ลืมเลือน จนกระทั้งเขารู้ว่ามือปืนสองคนที่ลอบยิงเจ้านายเขาคือ ไฮมี ไวสส์ (Hymie Weiss) และ บักส์ มอแรน (George ‘Bugs’ Moran)จากแก๊งมอแรนไวส์ที่ขัดผลประโยช์เรื่องเหล้าเถื่อน อัล คาโปน จึงคิดบัญชีแก๊งของสองคนนี้

นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1926 อัล คาโปนได้ดำเนินแผนการแก้แค้นให้แก่จอร์นนี่โดย บินไปพักผ่อนที่ฟลอริดา โดยส่งลูกน้องที่มี ไอ้ปืนกลแจ๊ก แมคเกิร์น( Jack McGurn) นำทีม

โดย แผนการในครั้งนี้วางไว้โดยให้นกต่อไปติดต่อสู้เหล้าล็อตใหญ่และให้ไปส่ง มอบที่อู่ซ่อมรถและมีสมาชิกของแก๊งคาโปนปลอมตัวเป็นตำรวจดักรออยู่ และ เมื่อสมาชิกแก๊งมอแรนไวสส์มาถึงอู่รถ ตำรวจปลอมก็มาถึง ทำการค้นตัวและให้สมาชิกแก๊งมอแรนไวสส์ ดันให้ชิดฝา และทั้งหมดก้ถูกสาดกระสุนด้วยปืนกลจนตายยกแก๊ง และคดีที่เป็นตำนานที่สุดของ อัล คาโปนจนได้ระบือนามว่า “คดีสังหารหมู่ในวันเซนต์ วาเลนไทน์”

หลัง เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้แก๊งน้อยใหญ่ในชิคาโกกลัวแก๊งของอัล คาโปนขี้หดตดหาย แก๊งของอัล คาโปนกลายเป็นแก๊งที่ไม่มีใครต่อกรด้วย ประโยชน์และอิทธิพลของชิคาโกทั้งหมดอยู่ภายใต้การนำของอัล คาโปน แต่เพียงผู้เดียว

ตั้งแต่ปี ค.ศ.1929 อัล คาโปน ถูกจับหลายครั้งจากหลายคดี เป็นพันๆ หน้าของ FBI แต่เขาก็รอดทุกครั้ง ถึงแม้เขาจะถูกจำคุก เขาก็ติดอยู่ไม่ถึงเดือน ความ อหังการของอัล คาโปนนี้ว่ากันว่าเขาสามาถซื้อกรมตำรวจได้ทั้งกรม และสามารถซื้อผู้พิพากษาและคณะลุกขุนได้ด้วยซ้ำ และนอกจากนี้เขายังมีทนายสุดเก่งนาม”อีซี่ เอ็ดดี้”(Easy Eddie)

กล่าว กันว่าทนายผู้นี้ มีความสามารถในระดับที่จะไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับประเทศได้เลยทีเดียวหากเขา เกิดในช่วงสงครามฝ่ายเหนือ-ใต้ของอเมริกา เอ็ดดี้เป็นทนายความที่เก่งมาก ที่จริงแล้ว ก็เพราะฝีมืออันเก่งกาจในการเล่นแง่ทางกฎหมายของเอ็ดดี้นี่เองที่ทำให้ “บิ๊กอัล” พ้นคุกอยู่ได้เป็นเวลานานซึ่งอัล คาโปนก็แสดงความมีน้ำใจต่อเอ็ดดี้ด้วยการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นจำนวนมหาศาล

แม้ ว่าเอ็ดดี้จะมีส่วนพัวพันกับกลุ่มคนที่ก่ออาชญากรรม แต่เอ็ดดี้ก็ได้เพียรพยายามสอนลูกชายของตนให้สามารถแยกผิดชอบชั่วดีได้ เอ็ดดี้อยากให้ลูกเป็นคนที่มีคุณธรรมมากกว่าตัวเขาเอง แต่เนื่องจากความมั่งคั่งและอิทธิพลทั้งหมดที่รายล้อมอยู่รอบข้าง ทำให้เอ็ดดี้ตระหนักว่ามีสิ่งสำคัญสองประการที่เขาไม่สามารถมอบให้กับลูกชาย ได้ซึ่งนั่นก็คือเขาไม่สามารถทำตัวให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคมและเป็นแบบอย่าง ที่ดีให้กับลูกได้

ใน ปีทศวรรษ ที่1930 แม้ ว่าจะหนักใจ แต่แล้ววันหนึ่ง อีซี่เอ็ดดี้ตัดสินใจได้ เพื่อเป็นการแก้ตัวจากสิ่งผิดที่เขาได้เคยทำไว้ เอ็ดดี้จึงตัดสินใจเข้าพบเจ้าหน้าที่ของรัฐและเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับอัล คาโปน หรือ “ไอ้หน้าบาก” เพื่อล้างมลทินให้กับตัวเองและเพื่อสอนให้ลูกรู้จักคำว่าคุณธรรมซึ่งเขาจะ ต้องขึ้นศาลเพื่อให้การเอาผิดกับอันธพาลกลุ่มนี้และเอ็ดดี้เองก็รู้ว่าผลที่ ตามมานั้น เลวร้ายอย่างสุดจะคาดคิด

เอ็ดดี้ ได้ไปให้การต่อ เจ้าหน้าที่เอลเลียต เนส ในการเอาผิดกับเจ้าพ่ออัล คาโปน เพื่อให้ชิคาโก้ เกิดความสงบที่แท้จริงการกระทำของ เอ็ดดี้ มีหรือที่ อัล คาโปนแน่นอนไม่มีลังเล จึงส่งคนไปขู่ว่าจะฆ่าเขาซะ หากว่าเอ็ดดี้กระทำตนเป็นวีรชนเช่นนี้แต่แล้ว เขาก็ไปให้การต่อศาลในที่สุด และในปีนั้นเอง อีซี่เอ็ดดี้ก็จบชีวิตลงจากการถูกลอบยิงในถนนสายเปลี่ยวในชิคาโก

หลัง จากนั้นอีกเพียงปีเดียว คำสั่งจากรัฐบาลกลางได้ออกคำสั่งให้เอลเลียต เนส กวาดล้างขยะสังคม อัล คาโปน เป็นหมายเลข 1 ที่จะต้องถูกกำจัด แม้ว่าอัล คาโปนจะมีเครือข่ายทั่ว ชิคาโก้ก็ตามทีแต่การสู้กับอัล คาโปนนั้นไม่ง่ายเลย เพราะสายของอัล คาโปน นั้นมีอยู่เต็มไปหมด แม้กระทั้งลูกน้องของเอลเลียตยังถูกซื้อตัว

แต่ แล้วสัญญาดีๆ ก็เกิดขึ้นเมื่อทีมของ เนส สามารถติดต่อคนวงในของแก๊งอัล คาโปน ได้ และสามารถสืบช่องหาทางการเลี่ยงภาษีของสมาชิกแก๊งคนอื่นๆ ได้ เช่น น้องชายของอัล คาโปน เจน, กู วิค, แฟรค์ นิตตี และสามารถเอาบัญชีเลี่ยงภาษีของอัล คาโปน มาอยู่ในมือได้สำเร็จ

16 มิถุนายน ปี ค.ศ.1931 คดี หลบเลี่ยงภาษาของอัล คาโปน และพรรคพวก ถูกขึ้นสู่ศาสเป็นนัดแรก คดีนี้ต่อสู้ในศาลหลายเดือน ในช่วงนี้ อัล คาโปน เริ่มเป็นคนดีเป็นพิเศษ เช่น แจกข้าวให้คนจน เอาเงินไปบริจาค ฯลฯ

24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931 ศาลอ่านคำพิพากษา ให้อัล คาโปนมีความผิดข้อหาหลบเลี่ยงภาษี มีผลให้อัล คาโปน จำคุก 11 ปี อัล คาโปน แทบไม่เชื่อหูตัวเอง และกล่าวออกมาว่า “อะไรว่ะ โกงตั้งเยอะ แพ้ได้ไงตู” เขานั่งในคอกอยู่นาน จนเจ้าหน้าที่ต้องเชิญเขาออกจากที่นั่ง

นอก จากอัล คาโปน จะโดนจำคุกแล้ว เขายังต้องเสียค่าปรับภาษีย้อนหลังหลายแสนดอลลาร์ และยังถุกริบที่ดินและทรัพย์สมบัติจากุรกิจผิดกฎหมายอีก อัล คาโปน ต้องถูกย้ายที่คุมขังที่เคาน์ตี ต่อด้วยแอตแลนตา ก่อนถูกส่งตัวมายังอัลคาทราซ แคลิฟอร์เนีย ในที่สุด และที่นี้ศัตรูเก่าอัล คาโปน มีเพียบ เลยโดนรับน้องอย่างอ่วมอรทัย

วัน ที่18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1931 ผู้ว่าการรัฐ อิลลินนอยส์ ประกาศครั้งล่าสุดว่า “ไม่มีแก็งค์อัล คาโปนที่จะทำความเดือดร้อนอีกต่อไป ตราบใดที่ยังมีเราอยู่”

วัน ที่ 16 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.1939 อัล คาโปน พ้นโทษ แต่ป่วยเป็นโรคซิลิสที่ติดจากในคุก ทำให้เขาต้องรักษาตัวอยู่นาน จนไม่สามารถกลับเป็นใหญ่ได้อีก แต่กระนั้นก็มีทรัพย์สินส่วนตัวที่รอดพ้นมือตำรวจมากมาย เขามอบอำนาจให้เจ้าพ่อคนใหม่ และกลับไปใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับครอบครัว

ขอบคุณท่านเจ้าของเรื่อง

แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: