952. เมื่ออริยสงฆ์ครูบาอาจารย์พูดถึง “อารมณ์พระอรหันต์เป็นเช่นไร” ให้ลูกศิษย์เช่นเราได้เข้าใจ

บางคนก็ยังวาดภาพเอาไวในใจว่า พระอรหันต์จะต้องโกรธไม่เป็นด่าไม่เป็นพูดจาอ่อนหวานไพเราะ เดินเรียบร้อยเหมือนผู้ดี แต่พอมาเจอหลวงปู่เจี๊ยะนั่งถกเขมร ไม่สวมอังสะ กำลังทำงาน เหงื่อโทรมกาย หรือเจอหลวงปู่ตื้อกำลังพูด “กู-มึง” คนเหล่านั้นจะตกใจมาก เพราะกิริยาแบบพระอรหันต์ของหลวงปู่ทั้งหลายนั้นแตกต่างไปจากที่พวกเขาคิดอย่างสิ้นเชิง ทำให้มีอยู่ช่วงหนึ่งเกิดกระแสความสงสัยกิริยาของพระอรหันต์ว่า โกรธได้หรือไม่ ร้องไห้ได้หรือไม่

ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์ถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า “หลวงปู่โกรธเป็นไหม?”

หลวงปู่ดูลย์ตอบ “โกรธเป็น แต่ไม่เอา”

ถ้าเช่นนั้น แล้วกิริยาทางโลกอื่นๆ ล่ะ เช่น ร้องไห้ พระอรหันต์ร้องไห้ได้ไหม?

หลวงพ่อพุธตอบในหนังสือ “จิตอรหันต์-จิตปุถุชน” ว่า…

“พระอรหันต์ก็ยังร้องไห้ได้ การร้องไห้มันเป็นกิริยาของกายต่างหาก ตัวร้องไห้ มันก็ร้องไป ตัวที่นิ่ง เฉยอยู่มันก็นิ่ง… พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระปุถุชนโศกเศร้าเสียใจ พระอรหันต์ได้ธรรมสังเวช ธรรม

สังเวชนี่แหละมันทำให้น้ำตาไหล ไม่ใช่ว่าพอสำเร็จอรหันต์แล้ว มันจะไม่มีอะไร มันก็เหมือนกับ

ปุถุชนธรรมดานี่แหละ แต่สิ่งที่ทำให้ท่านเกิดกิเลสเมื่อก่อนนี้มันหมดไปความตื้นตัน ความปีติต่างๆ มันเป็นองค์ประกอบของสมาธิ มันก็ต้องมีอยู่เป็นเรื่องธรรมดา”

เมื่อหลวงพ่อพุธอธิบายถึงตรงนี้ท่านจึงได้เล่าว่า ครั้งหนึ่ง ท่านเคยร้องไห้มาก่อน ตอนที่ต้องเดินทางไปสวดมนต์ในวัง ระหว่างทาง

รถยนต์ที่หลวงพ่อพุธโดยสารขับผ่านแก่งคอย ทำให้นึกถึงโยมพ่อที่เสียชีวิต ณ สถานที่แห่งนี้ ด้วยความกตัญญู หลวงพ่อพุธจึงตั้งจิตอุทิศบุญกุศลให้โยมพ่อ แต่ช่วงที่กำหนดจิตนั้นปรากฏว่า… “พอกำหนดไปปั๊บ มองไปข้างหน้า สายตามันพร่า แล้วก็เห็นตาแก่คนหนึ่ง แบกเด็กน้อยลอยผ่านหน้าไป ทีนี้ พอลับสายตาไป จิตก็มานึกว่า “พ่อแบกเรามาตั้งแต่เด็ก แล้วมันก็ร้องไห้สะอึกสะอื้นขึ้นมาทันที คนที่นั่งมาในรถเขาก็ถามว่า หลวงพ่อเป็นอะไรๆ ก็โบกมือ เฉยๆ เดี๋ยวก็รู้ พออาการอย่างนั้น มันหายไปก็เล่าให้เขาฟังปีติมันเกิดจากกายต่างหาก อย่างสมมุตว่าเรามีเรื่องขำ เราหัวเราะ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

เสียจนไส้ขดไส้แข็ง เราเมื่อยเกือบตาย เราไม่อยากหัวเราะ แต่มันก็อดไม่ได้ นั่น คือความเป็นเองของร่างกาย อันนี้มันได้หลักมาว่า ภายในตัวของเรานี่ สมองเป็นผู้สั่งการ กองบัญชาการในสมองที่มันสั่งออกมานี่ ให้ร่างกายมันเตี้ย ให้ร่างกายมันโต ให้ร่างกายมันสูงโย่ง อันนี้เป็นเรื่องของสมองทั้งนั้นคำสั่งของสมองอันนี้หรือจิตดวงนี้ ตามหลักของการสะกดจิตเขาเรียกว่า ‘จิตอิสระ’ จิตอิสระดวงนี้จะคอยบังคับดูแลและใช้เครื่องจักรกลไกต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานให้แก่เราอย่างตรงไปตรงมาอาการปีตินี่เป็นอาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม มันเหมือนกับว่า เราอยากได้อะไรมากๆ พอได้สมประสงค์ก็เกิดปีติเหมือนกัน แต่ทีนี้

สมมติว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์จริงๆ นี่ เวลาท่านกำหนดจิตรู้ อารมณ์จิตมันก็ปรุงแต่งเหมือนคนธรรมดา

ทีนี้ภายในสมาธิ มันก็เกิดนิมิตขึ้นมา ถ้าท่านรู้เรื่องอดีตชาติ ท่านก็แสดงอาการร้องไห้ ร้องไห้ในสมาธิ แต่ร้องไห้นั้นน้ำตาไม่ออก อย่างคนที่จิตยังไม่พ้นกิเลส พอได้นิมิตว่าชาติก่อนเราได้ไปเกิดเป็นอันนั้น ๆ ได้ไป

ทะเลาะตบต่อยตีกันที่ตรงนั้น พอรู้สึกอย่างนั้น ก็ลุกขึ้นมากระโดดโขมงโฉงเฉง”

หลวงพ่อพุธอธิบายถึงภาวะจิตของพระอรหันต์ต่อไปว่า …

“ทีนี้ ความรู้ของพระอรหันต์นี่ ท่านรู้ว่าชาตินั้น ท่านเป็นอย่างนั้น ได้ทะเลาะเบาะแว้งกับคนนั้น คนนี้ มันก็แสดงอาการโกรธเคียดขึ้นมา แต่ความโกรธ ความเคียด กับจิตของท่านมันแยกกันไปคนละส่วนเหมือนๆ กับบางครั้งที่จิตของเรามีอารมณ์เกิดขึ้นๆๆ แต่มันเป็นกลางเฉย สิ่งรู้เป็นแต่เพียงอารมณ์จิต แล้วตัวเองไม่ได้ไปสวมสอดเข้าในเรื่องนั้น มันแยกเป็นคนละส่วน ทีนี้ ผู้ที่รู้ยังไม่ถึงแก่น พอรู้เข้ามาปั๊บก็สำคัญว่าตัวเองอยู่ในปัจจุบันนั้น” ถึงแม้จะรู้ว่ากิริยาของพระอรหันต์นั้น อยู่ที่ปัจจุบัน

แต่คนทั่วไปก็คาดหวังว่า พระอรหันต์จะต้อง “รู้” ไปทุกเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้หลวงตามหาบัวบอกว่า

“รู้ในสิ่งที่ควรรู้ ไม่รู้ในสิ่งที่ไม่อาจรู้”

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : TNews
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: