705. น้ำมนต์หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพฯ

น้ำมนต์หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
กล่าวถึงเรื่อง “หลวงปู่ทองไล่ผี” ในอดีตสมัยที่หลวงปู่ทองเป็นเจ้าอาวาส วัดตั้งอยู่ในแวดวงของหมู่แขก มีบ้านแขกเรียงรายล้อมรอบอยู่ทั่วไปในบริเวณ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานกันว่าหลวง ปู่ทองได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ สร้างความดีจนบรรดาพวกแขกนับถือหลวงปู่ทอง เป็นจำนวนมาก กล่าวได้ทีเดียวว่าสมัยหลวงปู่ทองเป็นเจ้าอาวาสวัดราชโยธา พวกแขกในย่านนั้นแทบทุกบ้านต่างก็พากันนับถือหลวงปู่ทอง

เรื่อง เล่าถึง “ปาฏิหาริย์” หลวงปู่ทองเรื่องหนึ่ง เล่าสืบกันมาว่ามีแขก คนหนึ่งเข้าไปตกปลาในวัด ด้วยปลาที่หน้าวัดและที่ในสระนั้นมีชุกชุมนัก แต่แกตกปลาตลอดทั้งคืนก็หาได้ปลาไม่ แม้บางครั้งเหมือนจะมีปลามาติด แต่พอวัดขึ้นมากลายเป็นใบไม้ บางครั้งก็ฮุบเหยื่อเหนี่ยวไปเหนี่ยวมา พอวัดจวนจะพ้นน้ำดิ้นไปมาจนน้ำกระจาย แต่พอพ้นน้ำขึ้นมากลับกลายเป็นใบไม้ไป

ครั้งสุดท้ายคล้ายปลาจะกิน เบ็ดจริงๆ แต่วัดเท่าไรก็ไม่ขึ้น มันลากไปลากมาอยู่ในสระน้ำ ในใจก็คาดคิดว่าจะเป็นปลาตัวใหญ่ ด้วยบางทีลากเสียปลายคันเบ็ดจมลงน้ำไปด้วยบาง คราวก็ฉุดลากจนตัวแกเกือบคะมำลงน้ำ สุดท้ายเมื่อลากขึ้นมาพ้นน้ำได้กลับ กลายเป็นหัวกะโหลกตกใจจนจับไข้อยู่หลายวัน ข่าวผีกินเบ็ดก็แพร่ กระจายออกไปว่า หลวงปู่ทองใช้ผีเฝ้าปลาในสระวัด

ยามที่มีผู้คนล้ม ป่วย ซึ่งในสมัยนั้นการคมนาคมไม่สะดวกห่างไกลจากสถานพยาบาล ทำให้มีผู้คนล้มตายกันด้วยรักษาไม่ทันการ ชาวบ้านในละแวกวัดที่เป็นคนไทยพุทธล้วนต่างไปหาหลวงปู่ทอง ท่านก็เป่าเสกให้กินยา กินน้ำมนต์พากันหายจากโรคก็เป็นที่ร่ำ ลือกันว่าหลวงปู่ทองเป็นหมอวิเศษ คราวหนึ่งโรคอหิวาต์ได้ระบาดในชุมชน หมู่บ้านแขก และไทยพุทธ รอบๆ วัดราชโยธา มีผู้คนล้มป่วยกันมากมาย ชาวไทยพุทธที่ไปหาหลวงปู่ทองรักษาให้ล้วนต่างหายจากโรคกัน เป็นที่ร่ำลือกัน

หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

วัน หนึ่งพวกแขกละแวกวัดหลายสิบคนต่างพากันไปหาหลวงปู่ทองมีหญิงแขกคนหนึ่ง อุ้มลูกที่ป่วยมาด้วย หลวงปู่ทองก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ได้ถามไถ่ว่ามีเหตุธุระอันใด จึงมาหาท่านถึงวัด พวกแขกก็เล่าเรื่องราวให้ฟังท่านก็บอกให้เอาเด็กป่วยมาให้ท่านดูพอ เห็นท่านก็ทราบว่าเด็กน้อยคนนี้เป็นอะไร หลวงปู่ทองให้ลูกศิษย์ไป หยิบไพลมาให้หัวหนึ่ง เมื่อได้มาท่านก็เหลาปลายไพลให้พอแหลมแล้วท่าน ก็จี้ลงไปที่ตัวเด็ก ทันทีที่จี้ถูกตัว เด็กร้องว่า “กลัวแล้วๆ ผมกลัว แล้ว”

หลวงปู่ทองก็ถามไป “เอ็งชื่ออะไร”
เสียงเด็กตอบว่า “ผมชื่อโดดครับ”
หลวงปู่ทองว่า “ใครใช้เอ็งมา”
เด็กตอบว่า “หมอสอนครับ”
หลวงปู่ทองถามต่อ “เองมาทำไม”
เด็กตอบกลับว่า “มาเอาชีวิตอ้ายหวังครับ”
หลวงปู่ทองถาม “อ้ายหวังมันทำอะไรให้”
เสียง เด็กตอบมาว่า “มันเยี่ยวรดหมอสอนครับ”
หลวงปู่ทองก็ว่า “หน็อยแน่เรื่องเพียงเท่านี้ถึงจะมาเอาชีวิตชีวาเชียวรึ เอ็งจะอยู่หรือจะไป ถ้าอยู่ข้าจะให้เฝ้าปลาในสระที่หน้าวัด”
เด็กคนนั้นนั่งก้มหน้าเฉย หลวงปู่ทองจึงเอาไพลจี้พร้อมสำทับไปว่า “ยังไง เอ็งจะอยู่หรือจะไป”
เด็ก คนนั้นก็ว่า “ไม่อยู่ครับ หมอสอนแกสั่งให้รีบกลับเร็วๆ ครับ”

หลวง ปู่ทองจึงเอากำหญ้าคาจุ่มน้ำมนต์ฟาดลงไปที่ตัวเด็ก เสียงของผีร้ายในร่าง เด็กก็ร้องว่า “ผมกลัวแล้วๆ ผมไปแล้วครับ” หลวง ปู่ทองก็เอาน้ำมนต์ซัดลงไปที่ร่างเด็กอีกครั้ง เด็กดิ้นล้มลงนอนเหยียดยาวแล้วเงียบไปชั่วขณะหนึ่ง พอลืมตาก็ลุกขึ้นนั่งได้ตามปกติ หายราวปลิดทิ้ง แล้วท่านก็เอาด้ายสายสิญจน์มาผูกข้อมือให้ หลวงปู่ทองว่า ด้ายนี้เอาไว้ป้องกันมันจะเข้าอีกไม่ได้แล้วก็เอาน้ำมนต์ให้พวกแขกไปคน ละขวด พร้อมด้ายสายสิญจน์ ส่วนน้ำมนต์เอาไปอาบบ้าง กินบ้าง ประพรมบ้านบ้างน้ำมนต์นี้ป้องกันผีห่าได้

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้น มา พวกแขกเหล่านั้นก็เชื่อมั่นในตัวหลวงปู่ทองต่างพากันนับถือ บางคนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของ “น้ำมนต์”หลวงปู่ทองด้วยตาของตนเอง บ้างก็ได้ยินคำร่ำลือคำบอกเล่า บางครั้งพระพายเรือออกบิณฑบาตผ่าน

ทาง หน้าบ้านของแขกเหล่านั้น พวกเขาจะกวักมือเรียกให้พระจอดเรือแล้วเอาข้าวของมาฝากให้หลวงปู่ทอง บางคราวก็นำมาให้ถึงวัด เขาบอกว่าเขาให้คนที่นับถือ คนที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าแขกใส่บาตรพระ
กล่าวสำหรับน้ำมนต์ ในหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้นิยามว่า “น้ำเสกเพื่ออาบเป็นมงคล” พจนานุกรมฉบับมติชนว่า น้ำมนต์, น้ำมนต์ คือ “น้ำที่เชื่อว่าเป็นมงคลที่ได้จากการสวด
หรือเสก ใช้อาบกินหรือประพรมเพื่อเป็นสิริมงคล” อย่างไรก็ตาม น้ำมนต์โดยทั่วไป มีการใช้อยู่ 3 ประเภท คือ

1. ใช้เพื่อเป็นมงคล
2. ใช้เพื่อรักษาโรค
3. ใช้ระงับทุกข์ภัย

ใช้เพื่อเป็นมงคล ใช้ในการทำบุญทางศาสนา ที่เรียกว่า งานมงคล ปกติต้องจัดตั้งบาตรน้ำมนต์ หรือขันน้ำมนต์ถ้าทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ตั้งบาตรทรายด้วย มีด้ายสายสิญจน์ โยงจากองค์พระพุทธรูปที่ตั้งเป็น ประธานในพิธี วงมาที่บาตรน้ำมนต์ พระสงฆ์ในพิธีทั้งหมดถือด้ายสายสิญจน์ขณะเจริญพระพุทธมนต์

พระสงฆ์ ผู้เป็นสังฆเถระ จะหยดเทียนและดับเทียนเมื่อถึงบทมนต์ที่กำหนดรู้ไว้ เสร็จพิธีนั้นแล้ว พระสงฆ์เถระจะประพรมน้ำมนต์ให้แก่เจ้าของงานและผู้มาร่วมงาน

ใช้ เพื่อรักษาโรค โบราณนิยมทำเป็นประจำโดยเที่ยวไปนมัสการตักน้ำมนต์ใน โบสถ์ตามวัดต่างๆ นิยมว่า 7 วัด เอามารวมกันในหม้อน้ำมนต์ที่บ้านตั้งไว้หน้าที่บูชาพระ ใครเจ็บไข้ไม่สบายขึ้นมาก็ไปกราบขอน้ำมนต์กินโดยมากมักหายคนจึงนิยม และนิยมใช้น้ำมนต์รักษากันสารพัดโรค

ใช้เพื่อระงับทุกข์ ในธัมมปทัฏฐกถา ภาค 7 ปกิณกวรรค เรื่องอตโนบุพกรรม ท่านเล่าว่า เกิดภัยใหญ่ 3 ประการ

เกิดขึ้นในกรุงไพสาลี แคว้นวัชชี คือ
1. ทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง
2. อมนุสสภัย อมนุษย์ให้โทษ
3. โรคภัย ภัยเกิดแต่โรคระบาด คนล้มตายมากทั่วเมือง

เจ้าลิจฉวีผู้ปกครองเมือง จัดการรักษาทุกทางก็ไม่ระงับในที่สุดเห็นทางแก้ไขอยู่ทางเดียวว่า พุทธานุภาพเท่านั้นจะช่วยได้ จึงส่งคณะเจ้าลิจฉวีไปทูลเชิญเสด็จพระ พุทธองค์ ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ พระพุทธองค์ รับจะเสด็จกรุงไพสาลี โดยเสด็จทางเรือตามแม่น้ำคงคา พอพระพุทธองค์ย่างเข้าเขตแคว้นวัชชีฝนตกใหญ่ น้ำนอง พอฝนหาย เมืองสะอาด พอเสด็จถึงกรุงไพสาลี
โปรดให้พระอานนท์รับเรียนรัตนสูตรให้เจ้าลิจฉวีถือ บาตรน้ำมนต์ พระอานนท์บริกรรมรัตนปริต ประพรมน้ำมนต์ทั่วบริเวณกรุงไพสาลี ในกำแพงเมืองทั้งสามชั้น รอบแล้วกลับมาเฝ้าพระพุทธองค์ ภัยทั้ง 3 ระงับทันที ประชาชนกลับเป็นปกติสุขตามเดิม

ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวถึงน้ำมนต์ว่า “น้ำมนต์นี้ ถ้าเสกด้วยพระพุทธมนต์ เรียกว่า น้ำพระพุทธมนต์ นิยมว่า ต้องพระเสก ถ้าเสกด้วยโองการตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียก ว่า เทพมนต์ หรือทิพย์มนต์อย่างที่พวกพราหมณ์ทำอยู่ที่โบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพฯ

น้ำมนต์นี้ เชื่อกันว่าสามารถระงับทุกข์ระงับภัยได้จริงๆ แต่ จะแก้อะไร ก็มีคาถาสำหรับบริกรรม หรือเสกเฉพาะๆ เช่น แก้เสนียดจัญไร ก็มีคาถาสำหรับเสกเฉพาะ แก้เสนียดจัญไร แก้ปวดศีรษะ แก้โรคตาแดง ก็มีคาถาเฉพาะสำหรับแก้โรคนั้นๆ เป็นทุกข์ใจเพราะอะไร ก็มีคาถาบริกรรมเฉพาะทั้งนี้ก็เป็นอุปเท่ห์ของอาจารย์ผู้ทำน้ำมนต์ ต้องใช้น้ำสะอาดบริสุทธิ์ใส่ภาชนะเฉพาะ เช่น ขันที่ทำเฉพาะ เรียกว่า หม้อบ้าง ครอบบ้าง กลตบ้าง ตามที่มี แต่ใช้บาตรดีที่สุด ในน้ำมนต์ ควรมีใบเงิน ใบทอง ใบส้มป่อย ผิวมะกรูด เวลาจะรด ควรมีใบมะตูมทัดหูแต่ ทั้งนี้ ก็แล้วแต่อาจารย์ผู้รดจะทำให้ อย่างไรก็ต้องทำตามอาจารย์

น้ำมนต์ นี้ที่จะขลังอาศัยเหตุประกอบ 3 ประการ คือ
1. พระอาจารย์ผู้ทำ ต้องใจบริสุทธิ์ มีสมาธิเป็นอัปนาแนบแน่นมีวสีชำนาญการบริกรรม
2. ผู้รด ต้องมีความเชื่อมั่นไม่ลังเลสงสัย มั่นใจ
3. โรค หรือภัยนั้น อยู่ในวิสัยที่น้ำมนต์จะรักษาได้

คอลัมน์ มุมพระเก่า สรพล โศภิตกุล

พุทธคุณแดนสยาม

แอพเกจิ – AppGeji
——————————————————————————-

ติดตามเรื่องราวครูบาอาจารย์ได้เพิ่มเติมที่
แอพเกจิ Facebook: www.facebook.com/appgeji
Web Sit: www.appgeji.com
App Store (IOS): https://appsto.re/th/wlGScb.i

error: ถ้าจะก๊อปกรุณาให้เครดิตท่านเจ้าของบทความ
%d bloggers like this: